Category: ไต

  • ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง

    ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง

    ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังก็คือ สภาวะของไตที่ถูกทำลาย ทำให้ไตทำงานได้ลดลง โดยสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรังก็ได้แก่โรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต ฯลฯ ซึ่งโรคไตจะมีอาการแย่ลงหรือทรุดลงทีละน้อยโดยผู้ป่วยไม่ค่อยรู้ตัว บางคนไม่เคยทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นจนอาการแย่แล้ว ดังนั้นควรได้รับการตรวจและรักษาแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้โรคไตเรื้อรังคงตัวและหายได้ แต่หากปล่อยไว้ไม่ตรวจหรือรักษาก็อาจนำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งไตจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป จำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือดหรือผ่าตัดเปลี่ยนไต โรคไตเรื้อรังนี้มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พันธุกรรมของคนในครอบครัว อายุที่มากขึ้นทำให้ไตเสื่อมสภาพลง เป็นคนที่อ้วนหรือเป็นโรคอ้วน และสูบบุหรี่ หากท่านอยู่ในข่ายดังกล่าวนี้ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมทั้งตรวจเลือดเพื่อหาค่าครีเอตินิน เพื่อนำเอาผลมาประเมินค่าการทำงานของไต ว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด หากได้ค่าการทำงานของไตต่ำก็อาจทำให้ไตไม่สามารถทำงานได้ดังเดิม สูญเสียหน้าที่ในการกำจัดของเสียในร่างกายออกไป สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังนั้น เริ่มแรกอาการอาจไม่รุนแรง อาจมีอาการได้แก่ อ่อนแรง สมองตื้อ เบื่ออาหาร นอนไม่ค่อยหลับ ผิวคันและแห้ง เป็นตะคริวเวลากลางคืน เท้าและข้อเท้าบวม ตาบวมน้ำ โดยเฉพาะในตอนเช้า ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในเวลากลางคืน หากท่านพบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงและมีอาการของโรคดังกล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว ควรรีบไปขอรับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาและคงอาการไว้ก่อนที่โรคไตเรื้อรังจะดำเนินไปถึงระยะรุนแรง ที่อาจทำให้ไตสูญเสียสมรรถภาพการทำงานไปอย่างถาวรได้ค่ะ

  • ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้

    ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้

    ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้ ปัจจุบันนี้มีการนิยมนำเอาสมุนไพรบางชนิดมาช่วยบรรเทาและรักษาโรคเบาหวานกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ “ปอบิด” หรือ “ปอกะบิด” นั่นเอง ซึ่งแม้จะมีฤทธิ์ช่วยในการลดน้ำตาลได้เลือดได้ แต่ก็พบว่ามีผู้ป่วยบางรายมีอาการไตวายเป็นผลข้างเคียงด้วย อันตรายมาก! ซึ่งมีรายงานจากการวิจัยพบว่า ปอบิดนี้ช่วยรักษาเบาหวานได้จริง สามารถลดระดับน้ำตาลในหนูทดลองได้ แต่ก็ทำลายตับของหนู และกระตุ้นหัวใจของกบได้ด้วย ซึ่งสมุนไพรดังกล่าวยังไม่มีงานวิจัยในด้านพิษวิทยาล่าสุดนี้มีงานวิจัยจาก รศ.รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าแม้ปอบิดจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ให้ผลใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน แต่ก็ไม่สามารถทดแทนยารักษาเบาหวานได้จริง ผ็ป่วยควรตรวจการทำงานของตับและไตทุก 3 เดือน และห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้ในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคตับหรือโรคไต รวมไปถึงผู้ที่มีพันธุกรรมเป็นโรคตับโรคไตในครอบครัวด้วย ผู้ป่วยเบาหวานนั้นมักจะมีตับ ไต ตับอ่อน หัวใจไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย หากต้องการใช้สมุนไพรไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 7 วัน เพราะปริมาณสารเคมีจากสมุนไพรควบคุมได้ยาก และไม่ควรกินแทนยา จึงควรมีช่วยหยุดพักในการกินหรือทานสมุนไพรชนิดอื่น ๆ สลับกันไป เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงได้อีกในอนาคตค่ะ

  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มักเป็นตลอดชีวิต หากปล่อยปละละเลยหรือขาดการดูแล ก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมไปถึงอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะค่อย ๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลงจนเกิดโรคแทรกซ้อนได้ทุกระบบ ซึ่งได้แก่ – หลอดเลือดแดงทั้งเล็กและใหญ่ทั่วร่างกายแข็งและตีบ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสื่อมได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตามัว ตาบอด ไตวายเรื้อรัง ประสาทเสื้อ ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ท้องเดินหรือท้องผูก – โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง – หน้าซีดเป็นลมเวลาลุกขึ้นยืน – องคชาตไม่แข็งตัว – หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้หัวใจวายเสียชีวิตได้ – อัมพาต – ความจำเสื่อม – ติดเชื้อได้ง่าย เพราะเบาหวานทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง และอาจติดเชื้อซ้ำซาก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง ฝี พุพอง – การติดเชื้อรุนแรง เช่น กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบ วัณโรค –…

  • อาหารที่เหมาะสมสำหรับถวายพระสงฆ์

    อาหารที่เหมาะสมสำหรับถวายพระสงฆ์

    อาหารที่เหมาะสมสำหรับถวายพระสงฆ์ 1. เครื่องดื่มที่ไม่ผสมน้ำตาล น้ำสะอาด หรือเครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาลจะดีที่สุด น้ำตาลทำให้อ้วนน้ำหนักเกิน และอาจทำให้เบาหวานกำเริบได้ 2. สำหรับนมวัว ควรเลือกนมจืดไขมันต่ำ หรือสูตรปราศจากไขมัน รวมไปถึงโยเกิร์ตรสธรรมชาติ เพื่อการขับถ่ายที่ดี 3. ในส่วนของข้าว ควรเลือกข้าวกล้องแทนข้าวขาวเพื่อมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า มีกากใยอาหารมากกว่า อิ่มอยู่ท้องนาน ระบบการย่อยก็ทำงานได้ดี ลดความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานได้มาก 4. ใส่บาตรหรือถวายอาหารที่ไม่เข้ากะทิ เช่น แกงส้ม แกงเลียง แกงป่า แกงจืดต่าง ๆ หากต้องการถวายแกงกะทิ ให้ปรุงด้วยกะทิธัญพืชหรือนมแทนจะดีต่อสุขภาพมากกว่า 5. หากเป็นอาหารที่ปรุงจากเนื้อสัตว์ ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ลอกหนังออกด้วยยิ่งดี และปรุงด้วยวิธีที่ใช้น้ำมันให้น้อยที่สุด เช่นการนึ่ง ต้ม ย่าง ปิ้ง อบ เป็นต้น 6. สำหรับอาหารที่ปรุงจากผัก เน้นผักสด หรือผักต้ม ผักนึ่ง เลี่ยงผักที่ผ่านการปรุงด้วยการทอดหรือผัดน้ำมันปริมาณมาก ลองถวายเป็นผักกับน้ำพริกหรือหลนดู แม้แต่สลัดผักก็ดีต่อสุขภาพท่านเช่นกันค่ะ 7. ถวายผลไม้สด ๆ ดีกว่าผลไม้กระป๋องหรือผลไม้แปรรูป และผลไม้สดก็มีประโยชน์ที่มากกว่าน้ำผลไม้ด้วย เพราะให้กากใยมากกว่า…

  • ภาวะไตวาย

    ภาวะไตวาย

    ภาวะไตวาย ภาวะไตวาย คือการสูญเสียการทำงานของไต สามารถแบ่งออกได้เป็นสองชนิดได้แก่ 1. ไตวายแบบเฉียบพลัน เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากกินเวลาแค่เป็นชั่วโมงหรือเป็นวันเท่านั้น เกิดจากการคั่งของของเสียที่ทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะปัสสาวะน้อยกว่าวันละ 400 ซีซี เกิดจากจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของระบบการไหลเวียนเลือดในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อ หรือเสียเลือดมาก หรือขาดน้ำรุนแรง ผู้ป่วยอาจอาจกลับมาเป็นปกติได้หากได้รับการรักษาทันท่วงที 2. ภาวะไตวายเรื้อรัง จะเกิดการสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างช้า ๆ กินเวลาตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปี จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะไตวาย ซึ่งต้องได้รับการรักษาแบบทดแทน เช่น การฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต จึงจะทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ สัญญาณเตือนและอาการที่บอกว่าเป็นโรคไต 1. ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ 2. มีโปรตีนหรือไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ อาจทำให้ปัสสาวะมีฟองมากแกละไม่สลายตัวไปง่าย ๆ 3. บวมรอบ ๆ ตาและข้อเท้า 4. ปวดหลังบริเวณบั้นเอว บางครั้งก็ร้าวไปที่ขาหนีบและลูกอัณฑะ หากปวดบริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่าแสดงว่าอาจมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ถ้าเจ็บปวดและมีไข้หนาวสั่น อาจมีการติดเชื้อทางเดินปันสาวะส่วนบนคือท่อไตและกรวยไต…

  • สรรพคุณมากคุณค่าของเห็ดหลากหลายชนิด

    สรรพคุณมากคุณค่าของเห็ดหลากหลายชนิด

    สรรพคุณมากคุณค่าของเห็ดหลากหลายชนิด ไม่มีใครที่ไม่รู้จักเห็ด พืชที่ชอบขึ้นตามขอนไม้และที่ชื้นแฉะทั้งหลาย มีหลายสายพันธุ์ที่เป็นพิษ แต่ก็มีอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาทานได้ และสามารถเพาะพันธุ์ขายได้ด้วย มาดูกันดีกว่าค่ะว่าเห็ดแต่ละชนิดที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ให้คุณค่าต่อร่างกายอย่างไรกันบ้าง – เห็ดชิตาเกะ หรือเห็ดหอม เป็นยาทางแพทย์แผนจีน รักษาโรคได้หลากหลายชนิด ป้องกันเชื้อไวรัสและการก่อกำเนิดของเซลล์มะเร็งได้ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ให้กรดอะมิโน ให้วิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินดีสูง บำรุงกระดูก มีปริมาณของโซเดียมต่ำจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาหวัดได้ – เห็ดหลินจือ มีคุณสมบัติช่วยต้านมะเร็ง โดยประเทศญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคชรา เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น – เห็ดหูหนู ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาว เพิ่มภูมิต้านทาน รักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง บำรุงไตและปอด – เห็ดแชมปิญอง หรือเห็ดกระดุม ช่วยป้องกันและต้านทานมะเร็งเต้านมได้ ช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง จึงลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วยนั่นเอง – เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ เป็นเห็ดในตระกูลเดียวกัน เชื่อว่าป้องกันโรคไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และบรรเทาอาการโรคกระเพาะได้ –…

  • ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรคร้าย

    ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรคร้าย

    ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรคร้าย พฤติกรรมกินเค็ม เป็นพฤติกรรมปกติของคนทั่วไป ลองคิดดูสิจะมีสักกี่คนที่ทานข้าวผัดแล้วไม่เติมพริกน้ำปลา ทานไข่เจียวแล้วไม่เหยาะซอสพริก หรือทานไข่ดาวแล้วจะไม่เหยาะซอส ทานก๊วยเตี๋ยวแล้วไม่เติมน้ำปลาเลย ฯลฯ เรียกได้ว่าหาแทบจะไม่พบเลยทีเดียว ซึ่งแม้พฤติกรรมนี้จะดูเป็นเรื่องเคยชิน แต่ความจริงแล้วความเค็มหรือเกลือเหล่านี้กำลังทำร้ายสุขภาพของคุณอยู่ โดยปัจจุบันนี้จากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือเข้าสู่ร่างกายมากกว่าที่ร่างกายต้องการถึง 2 เท่า การทานเกลือแบบนี้ไม่ใช่การตักเกลือเป็นช้อนเข้าปาก แต่เกิดจากการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงที่มีเกลือเป็นส่วนผสม เช่น ซอสปรุงรส กะปิ น้ำปลา ซี่อิ๊ว ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ผงชูรส ซอสหอยนางรส น้ำจิ้มสุกี้ น้ำจิ้มไก่ และผงฟูที่ใช้ทำขนมด้วย ซึ่งจากการสำรวจตามร้านอาหารตามสั่งทั่วไปนั้น อาหารจานเดียวทั้งหลายก็มีปริมาณของเกลือโซเดียมแทบจะเท่ากับปริมาณที่ร่างกายควรบริโภคทั้งวันไปแล้ว นอกเหนือจากนี้อาหารชนิดอื่น ๆ ก็ยังปริมาณของเกลือ หรือโซเดียมมากอีกด้วย เช่น เต้าเจี้ยว ปลาร้า กะปิ ของดอง กุ้งแห้ง อาหารกระป๋อง ปลาเค็ม ปลาตากแห้ง เนื้อตากแห้ง ขนมถุงกรุบกรอบ อาหารแปรรูป น้ำผลไม้ เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำพริก เครื่องจิ้มต่าง ๆ อาหารที่ใส่ผงชูรส อาหารที่ใส่ผงฟู…

  • ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม?

    ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม?

    ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม? ในปัจจุบันนี้คนไทยเรามีสติถิการเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงกว่า 12 ล้านคน เป็นโรคไต 8 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด 7.5 แสนคน รวมถึงโรคหัวใจขาดเลือดหรืออัมพฤกษ์ อัมพาตที่มีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมสูงมาก ทำร้ายร่างกายได้ในระยะยาว ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือหรือโซเดียมสูงเกินกว่าที่แนะนำต่อวันถึงสองเท่าตัว หรือประมาณ 5,000 มิลลิกรัมต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งมักอยู่ในรูปของเครื่องปรุงรสต่ง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำปลา ซีอีว ผงชูรส เกลือ กะปิ เครื่องแกง น้ำปลาร้า ผงฟู ฯลฯ อาหารที่เป็นนิยมและมีโซเดียมอยู่มากมักไม่ใช่อาหารสดแต่จะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ หรืออาหารแปรรูป ไมว่าจะเป็น อาหารกระป๋อง อาหารดองเค็ม ตากแห้ง แช่อิ่ม บะหมี่วอง กุนเชียง ลูกชิ้น ไข่เค็ม ขนมถุง ขนมปัง ฯลฯ แม้แต่กับข้าวสำเร็จที่ขายก็ยังมีโซเดียมสูงมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา ไข่พะโล้ คั่วกลิ้ง แม้แต่ในอาหารจานเดียวอย่าง ข้าวหน้าเป็ด ข้าวขาหมู ข้าวคลุกกะปิ ข้าวมันไก่ ก็มีโซเดียมต่อจานตั้งแต่ 1,000-2,000 มิลลิกรัมเลยนะคะ…

  • ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้

    ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้

    ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังนั้น สามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงและอายุที่ยาวนานขึ้นได้ด้วยการทำความเข้าใจกับสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บของตนเอง และบทความในวันนี้จะขอนำเอาเคล็ดลับที่อ่านเข้าใจง่ายของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังรายหนึ่งที่ดูแลสุขภาพของตนเองมาได้ถึง 22 ปี ทั้ง ๆ ที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมานานแล้ว เธอมีอายุ 62 ปี และดูแลการกินอาหารของตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ – หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มด้วยการทำอาหารทานเองที่บ้าน ไม่ใส่เกลือ น้ำปลา เครื่องปรุงรสอื่น ๆ – กินอาหารนอกบ้านจะไม่เติมเครื่องปรุง ถ้ากินก๊วยเตี๋ยวจะสั่งเป็นแห้ง และไม่เติมผลชูรส – กินโปรตีนแต่พอดี ๆ เพราะกินมากจะมีของเสียผ่านไตมาก ไตจะทำงานหนัก และไม่น้อยเกินไปเพราะอาจทำให้ขาดสารอาหารและกล้ามเนื้อลีบได้ – ระวังการกินถั่ว และน้ำเต้าหู้ต่าง ๆ ด้วย ถ้าอยากกิน กินได้แค่คำหรือสองคำเท่านั้น รวมไปถึงเต้าหู้และโปรตีนเกษตรด้วย เพราะในธัญพืชมีฟอสฟอรัสมาก จะเปลี่ยนเป็นฟอสเฟตในเลือดที่จะไปดึงแคลเซียมออกมาจากกระดูกทำให้กระดูกบาง – ไขมันกินมาก ๆ จะอ้วน และไขมันสูงทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ก็งดไม่ได้เพราะจำเป็นต่อการดูดซึมวิตามิน ADEK แต่จะเลือกกินเป็นไขมันไม่อิ่มตัว พวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย รำข้าวและงา –…

  • ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้

    ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้

    ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้ ในประเทศไทยเองมีผุ้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่รู้ตัวว่าป่วยอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนมากเพราะไม่แสดงอาการออกมา บางรายอาจแค่มึนงง หรือปวดหัวบริเวณท้ายทอย จึงไม่ไปตรวจรับการรักษา เมื่อเป็นนาน ๆ เข้า หลอดเลือดแดงในร่างกายจึงแข็งตัวและตีบตัน เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ไม่พอ เกิดภาวะหัวใจโต ไตเสื่อม จนไตวายได้ เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตกอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ โรคนี้จึงอันตรายมากเพราะเป็นโรคแอบแฝง แต่สามารถคร่าชีวิตเราได้ทุกเมื่อ ผู้ใหญ่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยด้วยนั้น มีภาวะป่วยเป็นความดันโลหิตสูงถึง 1 ใน 3 คน เสียชีวิตปีละ 1.5 ล้านคนเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ควารดูแลตนเองด้วยหลัก 3 ข้อดังต่อไปนี้ 1. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่าให้อ้วนเกินไป มีค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 2. เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย รสชาติพอดีไม่ปรุงแต่งมากเกินไปจนเค็ม หวานหรือมัน ชิมอาหารก่อนปรุงทุกครั้ง ทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานให้มากขึ้น เลือกอบายมุขทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และน้ำหวานน้ำอัดลมต่าง ๆ ด้วย 3. หมั่นขยับเขยื้อนร่างกายเสมอ…