Category: ไตวาย
-
ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้
ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้ ปัจจุบันนี้มีการนิยมนำเอาสมุนไพรบางชนิดมาช่วยบรรเทาและรักษาโรคเบาหวานกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ “ปอบิด” หรือ “ปอกะบิด” นั่นเอง ซึ่งแม้จะมีฤทธิ์ช่วยในการลดน้ำตาลได้เลือดได้ แต่ก็พบว่ามีผู้ป่วยบางรายมีอาการไตวายเป็นผลข้างเคียงด้วย อันตรายมาก! ซึ่งมีรายงานจากการวิจัยพบว่า ปอบิดนี้ช่วยรักษาเบาหวานได้จริง สามารถลดระดับน้ำตาลในหนูทดลองได้ แต่ก็ทำลายตับของหนู และกระตุ้นหัวใจของกบได้ด้วย ซึ่งสมุนไพรดังกล่าวยังไม่มีงานวิจัยในด้านพิษวิทยาล่าสุดนี้มีงานวิจัยจาก รศ.รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าแม้ปอบิดจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ให้ผลใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน แต่ก็ไม่สามารถทดแทนยารักษาเบาหวานได้จริง ผ็ป่วยควรตรวจการทำงานของตับและไตทุก 3 เดือน และห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้ในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคตับหรือโรคไต รวมไปถึงผู้ที่มีพันธุกรรมเป็นโรคตับโรคไตในครอบครัวด้วย ผู้ป่วยเบาหวานนั้นมักจะมีตับ ไต ตับอ่อน หัวใจไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย หากต้องการใช้สมุนไพรไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 7 วัน เพราะปริมาณสารเคมีจากสมุนไพรควบคุมได้ยาก และไม่ควรกินแทนยา จึงควรมีช่วยหยุดพักในการกินหรือทานสมุนไพรชนิดอื่น ๆ สลับกันไป เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงได้อีกในอนาคตค่ะ
-
ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้
ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังนั้น สามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงและอายุที่ยาวนานขึ้นได้ด้วยการทำความเข้าใจกับสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บของตนเอง และบทความในวันนี้จะขอนำเอาเคล็ดลับที่อ่านเข้าใจง่ายของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังรายหนึ่งที่ดูแลสุขภาพของตนเองมาได้ถึง 22 ปี ทั้ง ๆ ที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมานานแล้ว เธอมีอายุ 62 ปี และดูแลการกินอาหารของตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ – หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มด้วยการทำอาหารทานเองที่บ้าน ไม่ใส่เกลือ น้ำปลา เครื่องปรุงรสอื่น ๆ – กินอาหารนอกบ้านจะไม่เติมเครื่องปรุง ถ้ากินก๊วยเตี๋ยวจะสั่งเป็นแห้ง และไม่เติมผลชูรส – กินโปรตีนแต่พอดี ๆ เพราะกินมากจะมีของเสียผ่านไตมาก ไตจะทำงานหนัก และไม่น้อยเกินไปเพราะอาจทำให้ขาดสารอาหารและกล้ามเนื้อลีบได้ – ระวังการกินถั่ว และน้ำเต้าหู้ต่าง ๆ ด้วย ถ้าอยากกิน กินได้แค่คำหรือสองคำเท่านั้น รวมไปถึงเต้าหู้และโปรตีนเกษตรด้วย เพราะในธัญพืชมีฟอสฟอรัสมาก จะเปลี่ยนเป็นฟอสเฟตในเลือดที่จะไปดึงแคลเซียมออกมาจากกระดูกทำให้กระดูกบาง – ไขมันกินมาก ๆ จะอ้วน และไขมันสูงทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ก็งดไม่ได้เพราะจำเป็นต่อการดูดซึมวิตามิน ADEK แต่จะเลือกกินเป็นไขมันไม่อิ่มตัว พวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย รำข้าวและงา –…
-
ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้
ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้ ในประเทศไทยเองมีผุ้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่รู้ตัวว่าป่วยอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนมากเพราะไม่แสดงอาการออกมา บางรายอาจแค่มึนงง หรือปวดหัวบริเวณท้ายทอย จึงไม่ไปตรวจรับการรักษา เมื่อเป็นนาน ๆ เข้า หลอดเลือดแดงในร่างกายจึงแข็งตัวและตีบตัน เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ไม่พอ เกิดภาวะหัวใจโต ไตเสื่อม จนไตวายได้ เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตกอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ โรคนี้จึงอันตรายมากเพราะเป็นโรคแอบแฝง แต่สามารถคร่าชีวิตเราได้ทุกเมื่อ ผู้ใหญ่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยด้วยนั้น มีภาวะป่วยเป็นความดันโลหิตสูงถึง 1 ใน 3 คน เสียชีวิตปีละ 1.5 ล้านคนเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ควารดูแลตนเองด้วยหลัก 3 ข้อดังต่อไปนี้ 1. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่าให้อ้วนเกินไป มีค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 2. เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย รสชาติพอดีไม่ปรุงแต่งมากเกินไปจนเค็ม หวานหรือมัน ชิมอาหารก่อนปรุงทุกครั้ง ทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานให้มากขึ้น เลือกอบายมุขทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และน้ำหวานน้ำอัดลมต่าง ๆ ด้วย 3. หมั่นขยับเขยื้อนร่างกายเสมอ…
-
ระวังและป้องกัน…โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง
ระวังและป้องกัน…โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนี้ เรียกได้ว่าผู้หญิงแทบทุกคนทุกช่วงวัยต้องเคยเป็นมากันทั้งนั้น เป็นโรคที่รักษาไม่ยากแต่หากไม่รักษาแต่ปล่อยไว้จะลุกลามจนอาจกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังซึ่งยากต่อการรักษาได้ โรคนี้นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักปะปนอยู่ในอุจจาระของคนเรา มักจะแปดเปื้อนอยู่รอบ ๆ ทวารหนัก หากทำความสะอาดไม่สมบูรณ์ เชื้อโรคก็อาจแปดเปื้อนเข้าสู่ท่อปัสสาวะ เข้าไปภายในกระเพาะปัสสาวะได้ ยิ่งโดยเฉพาะเพศหญิงนั้นจะมีท่อปัสสาวะสั้นจึงง่ายต่อการติดเชื้อมากกว่าผู้ชายที่มีท่อปัสสาวะยาวและอยู่ห่างจากทวารหนักมาก เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแล้วหากมีการถ่ายปัสสาวะออกทุกครั้งที่ปวดก็จะสามารถขับเชื้อโรคออกมาได้ ไม่เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ แต่ถ้าอั้นไว้ก็จะทำให้เชื้อมีเวลาที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ได้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เกิดอาการขัดเบาขึ้น โรคนี้จึงมักพบได้ในผู้หญิงที่ทำความสะอาดหลังอุจจาระไม่ดีและชอบอั้นปัสสาวะไว้ รวมไปถึงบางคนที่ยังเป็นกลุ่มเสี่ยงด้วย ได้แก่คนที่เป็นเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีการสวนปัสสาวะหรือมีการคาสายสวนปัสสาวะไว้ หรือมีการใช้เครื่องมือแพทย์สอดใส่ท่อปัสสาวะ อาการของโรคนี้ก็คือ ผู้ป่วยมักจะมีอาการถ่ายกะปริบกะปรอย ออกทีละน้อยปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ เข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้ง รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด บางรายอาจปวดท้องน้อย ปัสสาวะมักจะใส ๆ บางคนก็ขุ่นหรือมีเลือดปน มักไม่มีไข้ยกเว้นมีกรวยไตอักเสบด้วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น ปวดเอวด้วย ในเด็กเล็กจะมีอาการปัสสาวะรดที่นอนและมีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มักมีอาการหลังจากอั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือมีการสวนปัสสาวะ เมื่อมีอาการขัดเบาซึ่งสงสัยว่าอาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบความปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ดื่มน้ำให้มาก ๆ วันละ สามลิตรขึ้นไป หรือดื่มน้ำเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 แก้ว ถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่ปวด น้ำจะช่วยขับเอาเชื้อโรคออกมาและลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้ –…
-
การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย
การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย ปัจจุบันนี้โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีคนเป็นกันทั่วโลกเพิ่มขึ้นทุกปี และในประเทศไทยเองก็พบผู้ป่วยรายใหม่เพื่อทุกปีกว่าปีละ 500 ราย วันนี้จึงขอนำเอาคำแนะนำในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากอาการไตวายมาฝากกันค่ะ โดยผู้ที่ควรปฎิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้นอกจากผู้ที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้ว ก็ยังรวมไปถึง ผู้ที่ติดเชื้อซ้ำซากในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่เป็นนิ่วในไต หรือไตพิการ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเก๊าต์ โรคเอสแอลอี หรือผู้ที่ใช้ยาบางชนิด ควรถนอมไตของตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ทานอาหารให้ได้รับสารอาหารและคุณค่าที่หลากหลาย ลดอาหารเค็ม หวาน ไขมันสูงทั้งหลายซะ 2. ควบคุมระดับของความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 3. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้ และดูแลทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย 4. ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ร่างกายขับของเสียได้ดีขึ้น 5. ไม่ควรซื้อยามากินเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง 6. งดการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า เพราะทำลายสุขภาพมาก 7. ผู้ที่ป่วยหรือมีอาการโรคไตแล้ว ควรพบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะการจะลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคได้นั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองที่เหมาะสมค่ะ
-
ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย
ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย มีคนจำนวนไม่น้อยไม่ทราบว่าทำไมตนจึงเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายได้ แต่คนที่เป็นโรคที่อาจเกิดความเสี่ยงไตวายนั้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จำเป็นต้องมาพบแพทย์เพื่อรับยาเป็นประจำตามที่หมอพยาบาลแนะนะ ก็คงจะปลอดจากโรคไตได้ แต่ก็มีบางท่านที่สุขภาพแข็งแรงมาก ซ้ำยังเป็นนักกีฬา ไม่เคยเจ็บป่วยมาก่อน ฯลฯ ไม่ได้แปลว่าท่านจะไม่ได้ป่วย ท่านอาจมีโรคไตซ่อนอยู่ในตัวก็ได้ ทางที่ดีควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ดีกว่าค่ะ 1. ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ด้วยการตรวจหาระดับครีอะตินีนด้วย ซึ่งจะบอกได้ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ หากมีความผิดปกติก็แพทย์จะแนะนำให้ตรวจซ้ำและตรวจเพิ่มเติมส่วนอื่น ๆ ด้วย 2. ดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ 3. งดการสูบบุหรี่ และลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ หลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิดด้วย 4. หากร่างกายแสดงสัญญาณเตือน ก็ควรรีบไปหาหมอเพื่อการตรวจ 5. ระวังอย่าให้ท้องเสีย เพราะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการท้องเสียโดยเฉพาะถ่ายเป็นน้ำมาก ๆ จะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว จึงเกิดอาการไตวายเฉียบพลันต้องล้างไต แต่บ่อยครั้งที่ไตไม่ฟื้นอีกเลยผู้ป่วยต้องล้างไตไปตลอดชีวิต 6. อย่าซื้อยากินเอง 7. อย่ากินยาซ้ำซ้อน บางท่านไปหาหมอหลายคลินิกก็ได้ยาแก้ปวดคล้ายๆ กันมาหลายยี่ห้อ กินเข้าไปพร้อมกันจะเกิดผลเสียอย่างร้ายแรง และอย่าเก็บยาเก่าไว้กิน ยกเว้นได้นำไปให้หมอตรวจดูแล้วบอกว่ากินต่อไปได้เท่านั้น 8. อย่าหลงคำโฆษณาด้วยการกินอาหารเสริม บางอย่างมีเกลือผสมอยู่มากเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ หากไม่ต้องการเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย…
-
ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย
ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย บทความวันนี้ตอบข้อสงสัยของใครหลายคนที่ติดรสชาติเค็มกันอยู่นะคะ ที่มักจะถามว่ากินเค็มมากจะเป็นโรคไตไหม คำตอบจากหมอก็คือคนทั่วที่กินเค็มมากไปนิดหน่อยก็ยังไม่เป็นไร ไตยังขับเกลือออกได้ แต่หากมีอาการของไตเสื่อมแล้วก็ไม่ควรกินเค็ม ไม่ใช่แค่นี้ แต่คนที่มีอาการความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็ไม่ควรกินเค็มด้วยเหมือนกัน การควบคุมอาหารเค็มสำหรับผู้ป่วยไตเสื่อมนั้น ควรทำอาหารทานเอง หรือบอกแม่ครัวร้านอาหารให้งดเกลือ งดน้ำปลา ตัวผู้ป่วยเองเวลาไปทานอาหารก็ต้องงดการเติมน้ำปลา หรือเครื่องปรุงเวลาทานก๋วยเตี๋ยวด้วย และควรทานแบบแห้งเท่านั้น เพราะในน้ำซุปก๊วยเตี๋ยวก็มีเกลืออยู่มากเช่นกัน ไม่ควรซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทาน เพราะอาหารเหล่านี้มีเกลือผสมอยู่มาก หากท่านตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคไตเสื่อมอยู่แล้ว ต้องการระมัดระวังการกินอาหาร ควรวางแผนและจัดการดังต่อไปนี้ค่ะ 1. สอบถามแพทย์ผู้รักษาว่าท่านเป็นโรคไตในระดับใดแล้ว สามารถกินอะไรได้บ้าง แล้วมากน้อยขนาดไหน? 2. ควรรู้ไว้ว่าการกินโปรตีนมากเกินไปจะทำให้ไตเสื่อมสภาพได้ กินน้อยไปจะทำให้ขาดอาหาร และเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีก 3. การกินเค็มจะทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง และหัวใจวายได้ 4. ผู้ป่วยโรคไตสามารถกินผักได้เท่าที่ต้องการ ยกเว้นหมอห้าม 5. แต่สำหรับผลไม้ อาจต้องจำกัดในรายที่มีอาการไตเสื่อมมาก 6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ยกเว้นหมอสั่งให้ทาน 7. ดื่มน้ำน้อยทำให้ไตเสื่อม แต่ดื่มน้ำมากทำให้หัวใจวาย ต้องกะปริมาณให้พอดีโดยถามหมอ 8. ไม่ควรทานอาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง…
-
ไม่ต้องตกใจ.. เลือดกำไหลหยุดได้ง่าย ๆ
ไม่ต้องตกใจ.. เลือดกำไหลหยุดได้ง่าย ๆ ยิ่งในหน้าร้อนด้วยแล้ว ภาวะเลือดกำเดาไหลพบได้บ่อยยิ่งขึ้นและพบได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งในเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่และวัยชรา มักทำให้ตนเองและคนรอบข้างตกใจได้ง่าย ๆ สาเหตุของเลือดกำเดาไหลอาจเกิดจากหลอดเลือดที่เลี้ยงเยื่อบุจมูก ซึ่งในเด็กอายุน้อยมากเกิดจากส่วนหน้าของจมูก ส่วนผู้สูงอายุมักเกิดจากส่วนหลังของจมูก แบ่งสาเหตุออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ได้แก่ 1. มาจากบริเวณจมูก เช่น ได้รับการกระแทกซึ่งพบได้บ่อยมากที่สุด หรือเกิดจากการถูก แคะ, สั่งน้ำมูกแรง ๆ, ความกดดันอาการเปลี่ยนแรงอย่างกระทันหัน เช่น การขึ้นเครื่องบิน การอักเสบในจมูก เนื้องอกในจมูกบริเวณไซนัสและโพรงหลังจมูก รวมไปถึงการได้รับอุบัติเหตุบริเวณหัวและกระดูกใบหน้าด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีเลือดกำเดาไหลปริมาณมากและเป็นซ้ำ ๆ รวมไปถึงอาจเกิดจากการผิดรูปของผนังกั้นช่องจมูกและภาวะอากาศเย็น ความชื้นต่ำได้ด้วย เยื่อบุจมูกจึงแห้งมีเลือดไหลออกมาได้ง่าย 2. เกิดจากโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคไต ไตวายเรื้อรังทำให้เกร็ดเลือดทำงานผิดปกติ , ผู้ป่วยที่กินยาบางประเภท เช่น ยาสลายลิ่มเลือด แอสไพริน ซึ่งยาเหล่านี้จะทำให้เลือดไหลได้ง่ายกว่าปกติ รวมไปถึงผู้ป่วยด้วยโรคตับแข็งและโรคเลือดต่าง ๆ ที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติได้อีกด้วย การบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหลและการดูแล – ให้ผู้เงยหน้าขึ้น บีบจมูกด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้งทั้งสองข้างให้แน่นประมาณ 5-10 นาทีจนกว่าเลือดจะหยุดไหล…
-
โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป
โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ คือโรคที่รักษาหายได้ยากหรือรักษาได้ไม่หายขาด ได้แก่โรคในกลุ่ม ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เบาหวาน และโรคมะเร็ง ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคเหล่านี้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของโรคเหล่านี้เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป ไม่ว่าจะเป็น การชอบกินอาหารรสชาติหวานจัด ไขมันสูง หรือเค็มจัด การขาดการออกกำลังกาย ชอบดื่มเหล้าสูบบุหรี่ และชอบสะสมความเครียดด้วย คนที่มีน้ำหนักเกินจนอ้วนลงพุงนั้น จะมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก โดยไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ขัดขวางการทำงานของอินซูลินจึงเกิดผลร้ายกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เมื่อมีไขมันในหลอดเลือดก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมตัวลง เกิดเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ทำให้ไตวาย หัวใจวาย จนเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์และเสียชีวิตได้ เกณฑ์ในการเป็นโรคอ้วนลงพุงนั้น ให้วัดที่ขนาดรอบเอวโดย ผู้ชายมีเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 เซนติเมตรขึ้นไป และ 80 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้หญิง รวมกับปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 ข้อต่อไปนี้ได้แก่ 1. มีความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 ขึ้นไป หรือทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่ 2. มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป 3. มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150…
-
หลีกเลี่ยงโซเดียมในอาหาร หลีกห่างได้หลายโรค
หลีกเลี่ยงโซเดียมในอาหาร หลีกห่างได้หลายโรค บรรดาอาหารที่มีรสเค็มจัดทั้งหลายล้วนมีส่วนประกอบของโซเดียมทั้งสิ้น รวมไปถึงอาหารที่ไม่มีรสเค็มแต่มีโซเดียมอย่าง ผงฟู ชูรส เนยเทียม น้ำสลัดต่าง ๆ ก็ด้วยนั้น สร้างปัญหาต่อสุขภาพได้เช่นกันหากบริหารมากเกินพอดี และมีความเสี่ยงทำให้เป็นโรคความดันโลหิตได้ง่าย ทั้งยังทำให้เกิดการสะสมของน้ำตามส่วนต่าง ๆ ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ แล้วยังทำให้เกิดเลือดแข็งตัวได้ง่ายหากมีระดับเกลือแร่ในเลือดสูงเกินไป อันจะนำไปสู่ภาวะไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดในสมองตีบตัน หัวใจวาย ไตวายได้ มีผลการวิจัยพบว่า การกินเกลือแกงมากกว่า หกกรัมหรือ 1 ช้อนชาต่อวัน จะทำให้มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงได้ รวมไปถึงมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันโรคดังกล่าว เราจึงควรทานอาหารที่มีโซเดียมน้อย ๆ และเค็มน้อย ๆ ด้วย โดยมีเคล็ดลับดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ลดการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กะปิ น้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือ ซอส เต้าเจี้ยว ผงชูรส ฯลฯ และชิมก่อนเติมทุกครั้งด้วย รวมทั้งลดการจิ้มน้ำจิ้ม หรือทานน้ำพริก พริกแกงต่าง ๆ เพราะมีเกลืออยู่เยอะมากด้วยเช่นกัน 2. ควรทานอาหารที่ผ่านกระบวนการน้อย ๆ หรืออาหารจากธรรมชาติ…