Category: ไข้หวัด
-
ผื่นลมพิษอาจกำเริบในหน้าหนาวได้
ผื่นลมพิษอาจกำเริบในหน้าหนาวได้ ผื่นลมพิษ ก็คือการคันบนผิวหนัง อาจมีลักษณะบวมเป็นผื่นปื้นแดง มีขนาดต่าง ๆ กันไป ไม่มีขึ้น เกิดขึ้นและกระจายตัวได้เร็ว มักอยู่ไม่นาน หายได้เองโดยไม่มีร่องรอยอะไร แต่ก็อาจมีผื่นใหม่เกิดขึ้นในที่อื่น ๆ ได้อีก ซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น… – อากาศที่หนาวเย็นลง – ผื่นที่เกิดขึ้นจากความร้อน เช่น เกิดลมพิษทุกครั้งหลังเล่นกีฬาจนเหงื่อออก – ผื่นบริเวณที่ถูกเข็มขัดหรือยางยืดเสื้อผ้าที่สวมอยู่กดรัดแน่นเกินไป – แพ้อาหาร หรือสิ่งที่ผสมอยู่ในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นสารแต่งสี แต่งรส แต่งกลิ่น สารกันบูด หรือสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ – การแพ้ยา บางชนิดก็อาจเป็นยาที่นึกไม่ถึงได้ เช่น วิตามิน ยาถ่าย ยาระบาย ยาหยอดตา หยอดหู หรือยาแผนโบราณต่าง ๆ – เกิดลมพิษเพราะติดเชื้อ ที่พบได้บ่อยก็คือการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนเช่น หวัด ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอักเสบ เป็นต้น เมื่อเกิดผื่นลมพิษไม่ควรเกาผิวหนัง เพราะอาจทำให้เป็นแผลและอักเสบได้ หากคันมากให้ทาด้วยคาลามายน์โลชั่นเพื่อลดอาการคัน ในรายที่เป็นรุนแรง (ซึ่งอาจพบได้น้อยมาก)…
-
อยากหายหวัดเร็ว ๆ ทำยังไงดี?
อยากหายหวัดเร็ว ๆ ทำยังไงดี? แม้โรคหวัดจะไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงอะไร แต่ก็สร้างความน่ารำคาญได้ ไม่ว่าจะเป็น การไอบ่อย ๆ หรือมีน้ำมูก เสลดตลอดเวลา ต้องเช็คหรือคายทิ้งจนเสียบุคลิกภาพ วันนี้จะนำเอาวิธีรักษาตัวเองให้หายหวัดไว ๆ มาฝากกันนะคะ 1. นอนให้มาก ๆ อย่าอดนอน อย่างนอนดึก ยิ่งนอนพักผ่อนมากเท่าไร หวัดก็ยิ่งหายเร็วเท่านั้น 2. หากมีไข้ขึ้น ให้นำผ้าชุบน้ำมาเช็ดตัว เช็ดหน้า จะรู้สึกสบายตัวมากขึ้น หากใช้แผ่นเจลทำความเย็นด้วย จะเห็นผลดี ลดไข้ได้มาก 3. ทำร่างกายให้อบอุ่นด้วยการดื่มน้ำที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงน้ำเย็น และดื่มให้มาก ๆ เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายเสียไป เนื่องจากมีไข้ขึ้น 4. คาดผ้าปิดปากปิดจมูก ป้องกันเชื้อโรคอื่นเข้าสู่ร่างกาย และไม่เป็นการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นด้วย 5. อยู่ในที่ปลอดโปร่ง ไม่อับชื้น 6. หมั่นล้างมือบ่อย ๆ 7. ทานอาหารด้วยช้อนกลาง 8. หลีกเลี่ยงการเข้าไปคลุกคลีกับคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น คนแก่หรือเด็ก เพราะอาจแพร่เชื้อให้พวกเขาได้ 9. ทานผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก…
-
ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้
ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้ 1. สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ละอองหญ้า วัชพืช ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่นตามที่นอน เฟอร์นิเจอร์ หรือของเล่นตุ๊กตาที่ทำจากนุ่นหรือมีขน เชื้อรา แมลงสาบรวมไปถึงสัตว์เลี้ยงในบ้าน อาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนมวัว ไข่ กุ้ง หอย ปลา ปู งา ถั่วเหลือง สีผสมอาหาร สารกันบูด ฯลฯ 2. สารเคมีและควันระคายเคืองต่าง ๆ เช่น ควันบุหรี่ ท่อไอเสีย ควันธูป ฝุ่นละออง สเปรย์ ยาฆ่าแมลง อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน หรืออากาศเย็นๆ กลิ่นฉุนต่าง ๆ ฯลฯ 3. อย่าปล่อยให้ตัวเองป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็น หวัด ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ 4. หากต้องการออกกำลังกาย ควรสูดพ่นยาขยายหลอดลมก่อนสักครึ่งชั่วโมงป้องกันอาการกำเริบ 5. หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ 6.…
-
ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก
ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก แม้จะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี แต่ในช่วงหน้าหนาวที่อากาศเปลี่ยนแปลงก็ไม่ควรประมาท แต่ควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นไว้ตลอดเวลายิ่งหากไปท่องเที่ยวในที่เย็น ๆ ด้วยแล้ว ควรเตรียมอุปกรณ์กันหนาวให้ครอบครัน และปรึกษาแพทย์ก่อนไปด้วยนะคะ ระหว่างฤดูหนาวนี้ควรดื่มน้ำให้ได้วันละสองลิตรเพื่อป้องกันผิวแห้ง และนอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารร้อน ๆ รักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ด้วย โรคภัยและความเจ็บป่วยที่ผู้สูงวันต้องระวังเป็นพิเศษได้แก่ 1. โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคติดต่อทางเดินหายใจทั้งหลาย ที่อาจลุกลามไปสู่อาการปอดอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบได้ จึงไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านและอับชื้น ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการรับเชื้อ ควรงดสูบบุหรี่ไปเลยเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กหรือผู้ป่วยคนอื่น ๆ ยิ่งหากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ 2. เนื่องจากผู้สูงวัยจะมีไขมันใต้ผิวหนังน้อย ผิวจึงแป้ง เป็นผื่นอักเสบและลอกคันได้ง่าย ยิ่งเป็นฤดูหนาวที่อากาศแห้ง ผิวจะยิ่งสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่าย ไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัดเพราะจะยิ่งชะล้างไขมันออกไปมากขึ้น ควรรักษาความอบอุ่นร่างกายไว้ สวมเสื้อผ้าหนา ๆ ไม่ควรอาบน้ำนานเกินไป ทาผิวด้วยโลชั่นหรือน้ำมันบำรุงผิวหลังอาบน้ำทุกครั้ง เพื่อรักษาความชุ่มชื้น และควรเลือกผลิตภัณฑ์ทาผิวที่มีความอ่อนโยนด้วย ควรทาบ่อย ๆ หากรู้สึกว่าผิวแห้ง เพื่อป้องกันผิวหนัง และทาลิปมันบำรุงผิวริมฝีปากไว้ด้วย ทาบ่อยได้ตามต้องการค่ะ 3. ในช่วงหน้าหนาว หากผู้สูงวัยไม่ค่อยออกกำลังกาย การกินอาหารที่ไขมันสูงเข้าไป หัวใจจะทำงานหนักมากยิ่งขึ้นในช่วงฤดูหนาว…
-
“ขิง” สมุนไพรสร้างความอบอุ่นในฤดูหนาว
“ขิง” สมุนไพรสร้างความอบอุ่นในฤดูหนาว ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวนั้น จะเป็นช่วงที่ร่างกายอ่อนแอลงมากกว่าเดิม ทำให้เป็นหวัดได้ง่าย ระบบย่อยอาหารก็ไม่ดี ท้องเฟ้อ ท้องอืดได้ ดังนั้นอาหารที่เหมาะสำหรับฤดูหนาวก็ต้องเป็นอาหารธาตุร้อน มีรสชาติเผ็ดร้อนที่ให้ความอบอุ่นกับร่างกายคุณได้ ป้องกันไข้หวัดและความเจ็บป่วยนานาชนิดด้วยค่ะ ซึ่งสมุนไพรที่ให้ความอบอุ่นกับร่างกายเราและหาได้ง่ายในเมืองไทยก็คือ “ขิง” นั่นเอง ขิงเป็นสมุนไพรที่ถูกใช้กันมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้วในทวีปเอเชียนี้ นอกจากใช้ทำอาหารได้แล้วก็ยังนำเอามาสกัดเพื่อรักษาความเจ็บป่วยด้วย ในขิงมีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญก็คือ จิงเจอรอล และ โชกอร สองตัวนี้ช่วยรักษาอาหารท้องอืดท้องเฟ้อ หรือปวดมวนท้องด้วย หากคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรอยู่ สารออกฤทธิ์จากขิงจะส่งผ่านไปทางน้ำนม ทำให้ลูกน้อยไม่มีอาการท้องอืดได้ ผู้ที่มักมีอาการท้องเสีย ให้ทานอาหารที่ย่อยง่าย ลดอาการแข็งลง ๆ แล้วดื่มน้ำขิงช่วย จะลดการอักเสบที่เกิดจากพิษของเชื้อโรคในอาหาร ช่วยขับพิษออกจากร่างกาย ในส่วนผู้ที่เป็นไข้หวัด ไอ เจ็บคอ ปวดหัว การทานขิงสดช่วยได้มากเลย สำหรับคนที่มักจะเมารถ เมาเรือ คลื่นไส้ อาเจียนในเวลาที่อาหารเป็นพิษ ให้หยุดทานอาหารให้หมดแล้วพยายามขับของเสียออก แล้วตามด้วยน้ำขิงลงไป จะลดอาการคลื่นไส้ได้ดีมากเช่นกัน หากคุณอยู่นอกบ้าน หรือระหว่างเดินทาง หากมีอาการเมารถ เมาเรือ คุณควรหาน้ำขิงดื่ม หรือจะซื้อจิงเจอร์เอล มาดื่มก็บรรเทาได้เช่นกัน ในช่วงฤดูหนาวควรทานอาหารที่ปรุงด้วยขิงเปลี่ยนไปเมนูไปเรื่อย ๆ จะได้ไม่เบื่อ เช่น…
-
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน เพราะในหน้าฝนมีอุณหภูมิที่เริ่มเย็นลง กับมีความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้มีหลายโรคที่ระบาดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งโรคดังกล่าวก็ได้แก่ 5 กลุ่มโรคต่อไปนี้ทำควรป้องกันการติดต่อมากเป็นพิเศษ 1. กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ทั้งท้องร่วง ไทรอยด์ บิด อาหารเป็นพิษ เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้และปวดบิดในท้อง หากติดเชื้อบิดก็อาจถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ จึงควรระวังการทานอาหารมากเป็นพิเศษ ควรทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลางด้วย 2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเยื่อบุผิวหนังหรือบาดแผล ที่พบได้บ่อยก็โรคฉี่หนู อาการจะมีไข้สูง ปวดหัวมาก มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรนแรง ตาแดง มักเกิดในที่น้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ชาวไร่ชาวสวน ผู้ที่ทำงานกับการแช่น้ำ ในที่เฉอะแฉะ หรือผู้ที่ทำงานลอกท่อระบายน้ำ ทำงานเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ 3. กลุ่มโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม รวมไปถึงโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งแพร่ระบาดจากสัตว์ปีก ซึ่งเชื้ออาจข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในหน้าฝนได้ 4.…
-
สรรพคุณมากคุณค่าของเห็ดหลากหลายชนิด
สรรพคุณมากคุณค่าของเห็ดหลากหลายชนิด ไม่มีใครที่ไม่รู้จักเห็ด พืชที่ชอบขึ้นตามขอนไม้และที่ชื้นแฉะทั้งหลาย มีหลายสายพันธุ์ที่เป็นพิษ แต่ก็มีอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาทานได้ และสามารถเพาะพันธุ์ขายได้ด้วย มาดูกันดีกว่าค่ะว่าเห็ดแต่ละชนิดที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ให้คุณค่าต่อร่างกายอย่างไรกันบ้าง – เห็ดชิตาเกะ หรือเห็ดหอม เป็นยาทางแพทย์แผนจีน รักษาโรคได้หลากหลายชนิด ป้องกันเชื้อไวรัสและการก่อกำเนิดของเซลล์มะเร็งได้ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ให้กรดอะมิโน ให้วิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินดีสูง บำรุงกระดูก มีปริมาณของโซเดียมต่ำจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาหวัดได้ – เห็ดหลินจือ มีคุณสมบัติช่วยต้านมะเร็ง โดยประเทศญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคชรา เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น – เห็ดหูหนู ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาว เพิ่มภูมิต้านทาน รักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง บำรุงไตและปอด – เห็ดแชมปิญอง หรือเห็ดกระดุม ช่วยป้องกันและต้านทานมะเร็งเต้านมได้ ช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง จึงลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วยนั่นเอง – เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ เป็นเห็ดในตระกูลเดียวกัน เชื่อว่าป้องกันโรคไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และบรรเทาอาการโรคกระเพาะได้ –…
-
สาเหตุของอาการเป็นไข้ อิงตามตำราแพทย์แผนไทย
สาเหตุของอาการเป็นไข้ อิงตามตำราแพทย์แผนไทย ตามตำราแพทย์แผนไทยนั้น แบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้แปดข้อดังต่อไปนี้ 1. ทานของแสลง กินอาหารผิดประเภท ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารเผ็ดร้อนมาก ๆ เพิ่มธาตุไฟให้ร่างกาย จึงเป็นไข้ร้อนใน ต่อมน้ำเหลืองอักเสบได้ง่าย กินของมันของทอดมัน จะมีความร้อนสูงและย่อยยาก มักคอแห้งและมักจะร้อนภายในร่างกาย 2. อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ หรือเปลี่ยนท่าทีกะทันหัน ทำให้กล้ามเนื้อชั้นลึก ๆ เกิดการอักเสบและมีไข้ 3. เปลี่ยนอุณหภูมิกะทันหัน เช่น ตากฝนแล้วมาตากแดด หรืออยู่ในห้องแอร์แล้วออกไปเจอแดดเปรี้ยงทันที ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จึงเป็นไข้ได้ 4. ทานอาหาร น้ำ และนอนไม่พอ ธาตุไฟในร่างกายเสียสมดุล การอดนอนจะทำให้การเผาผลาญเกิดขึ้นตลอดเวลา ธาตุไฟจึงเพิ่มขึ้น ร่างกายจึงร้อนจนเป็นไข้ได้ 5. กลั้นอุจจาระปัสสาวะเป็นประจำ ทำให้กระเพาะปัสสาวะและกรวยไตอักเสบ ก็ทำให้เป็นไข้ได้ด้วย 6. ทำงานมากเกินกำลัง มากกว่าแปดชั่วโมงต่อวันหรือต่อคืน หรือทำงานเกินกว่ากำลังของตนเองแม้จะไม่ถึงแปดชั่วโมงก็ทำให้เป็นไข้ได้ 7. ความหดหู่ใจ เศร้าใจ ความเครียด กระทบธาตุในร่างกาย ส่งผลให้ธาตุลมกับธาตุน้ำเสียสมดุล จึงมีอาการไข้ตามมาได้ 8. มีอารมณ์โกรธ ฉุนเฉียว…
-
ความสำคัญของการล้างมือ
ความสำคัญของการล้างมือ มือเป็นอวัยวะที่ช่วยให้ร่างกายเราสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง ทั้งกิจวัตรส่วนตัว ทำงาน และช่วยเหลือดูแลผู้อื่นด้วย แต่ก็มือนี่เองเช่นกันที่อาจนำเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ด้วย และยังแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าห้องน้ำแล้วไม่ล้างมือ แต่ไปจับราวโหนรถไฟฟ้า ลูกบิดประตู ราวบันไดเลื่อน ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นการกระจายเชื้อโรคแทบทั้งนั้น ซึ่งโรคร้ายที่ติดต่อจากการสัมผัสนั้นก็ได้แก่ 1. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค หัดเยอรมัน นอกจากจะติดต่อทางลมหายใจแล้ว การหยิบจับสิ่งของใช้ร่วมกัน ก็สามารถแพร่เชื้อได้ด้วย 2. โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร แพร่กระจายด้วยการที่ใช้มือที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้หยิบจับอาหารเข้าปาก 3. โรคทางการสัมผัส เช่น ตาแดง เชื้อรา แผลอักเสบที่ผิวหนัง หิด เหา เริม 4. โรคติดต่อหลายทาง เช่น อีสุกอีใส อาจติดต่อได้ทั้งลมหายใจและการสัมผัสด้วย โรคทั้งหมดนี้แม้จะพบได้บ่อย แพร่กระจายเชื้อได้ก็มาก แต่การป้องกันแล้วถือว่าได้ผลและแทบไม่ต้องเสียอะไรเลย ซึ่งก็ได้แก่การล้างมือนั่นเอง การล้างมือบ่อย ๆ ป้องกันการระบาดของเชื้อได้หลายชนิด การล้างมือให้สะอาดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคเลย แค่ใช้น้ำกับสบู่เท่านั้นแล้วล้างให้ทั่วมือให้หมดจด ก็ลดการติดเชื้อได้มากแล้ว ควรหมั่นล้างมือให้เป็นนิสัย ยิ่งโดยเฉพาะก่อนและหลังกิจกรรมเหล่านี้ – หลังการทำงานหนักที่มือต้องสกปรก เช่น…
-
หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ
หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ อาการโรคทางเดินหายใจมีหลายโรคค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ฯลฯ เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคเหล่านี้ได้ด้วยการดูแลตนเองดังต่อไปนี้ 1. รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ ไม่ควรเล่นน้ำหรือแช่น้ำนาน ๆ สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสนิท ไม่เปียกชื้อ หากเข้าหน้าหนาวควรสวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปากหากต้องคลุกคลีหรือเข้าใจผู้เป็นโรคชนิดนี้อยู่ และไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน 3. ในช่วงที่มีโรคทางเดินหายใจระบาด ควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เช็ดมือ 4. ในเด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่อายุมากว่า 65 ปี รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ เป็นโรคหัวใจ โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง เอดส์ โรคอ้วน ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ด้วย ในส่วนของการรักษาตัวเบื้องต้นหากติดเชื้อโรคทางเดินหายใจเช่นไข้หวัดมาแล้ว ก็คือควรอยู่ห่างจากการอยู่ในที่ชุมชน อย่าคลุกคลีกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการแพร่เชื้อ แยกเตียงนอนกับลูกหรือสามีภรรรยา ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก หรือหน้ากากอนามัย ไม่ควรไอจามใส่ผู้อื่น ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ควรอาบน้ำอุ่น ๆ หรือเช็ดตัวแทน แล้วดื่มน้ำมาก ๆ กินแต่อาหารที่ย่อยง่าย ดื่มน้ำ…