Tag: โรคเบาหวาน

  • 9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!!

    9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!!

    9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!! ในโอกาสครบรอบห้าสิบปีของการประกาศว่า การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของ โรคมะเร็งปอด และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ล่าสุดมีการรับรองว่า 9 โรคใหม่ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มือสองจากผู้อื่นได้แก่ 1. มะเร็งตับ 2. มะเร็งลำไส้ 3. วัณโรค ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคมากขึ้น เสียชีวิตมากขึ้นและกลับมาเป็นซ้ำมากขึ้นด้วย 4. เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานถึงร้อยละ 30-40 เทียบกับผู้ที่ไม่สูบ 5. จอประสาทตาเสื่อมซึ่งจะสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น 6. เพดานปากแหว่งตั้งแต่เกิด ในแม่ที่สูบบุหรี่ 7. ตั้งครรภ์นอกมดลูก 8. โรคข้อรูมาตอยด์และภาวะภูมิต้านทานร่างกายลดลง 9. โรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือโรคเส้นเลือดในสมองแตกจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งรายงานฉบับนี้มีความสำคัญมากต่อประเทศไทย เพราะโรคมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ เป็นโรคมะเร็งที่ชายไทยเป็นมากที่สุด ในขณะที่เบาหวานและวัณโรคก็เป็นโรคที่คนไทยเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นผลมากจากการสูบบุหรี่ของชายไทยที่สูงขึ้น งานนี้นอกจากผู้สูบบุหรี่ต้องรักษาสุขภาพของตัวเองแล้ว งานควบคุมยาสูบในประเทศไทยก็ยังต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมทั้งรัฐบาลอย่างจริงจังในการควบคุมด้วย

  • ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง

    ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง

    ทำความเข้าใจกับโรคไตเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังก็คือ สภาวะของไตที่ถูกทำลาย ทำให้ไตทำงานได้ลดลง โดยสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรังก็ได้แก่โรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต ฯลฯ ซึ่งโรคไตจะมีอาการแย่ลงหรือทรุดลงทีละน้อยโดยผู้ป่วยไม่ค่อยรู้ตัว บางคนไม่เคยทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นจนอาการแย่แล้ว ดังนั้นควรได้รับการตรวจและรักษาแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้โรคไตเรื้อรังคงตัวและหายได้ แต่หากปล่อยไว้ไม่ตรวจหรือรักษาก็อาจนำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งไตจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป จำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือดหรือผ่าตัดเปลี่ยนไต โรคไตเรื้อรังนี้มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พันธุกรรมของคนในครอบครัว อายุที่มากขึ้นทำให้ไตเสื่อมสภาพลง เป็นคนที่อ้วนหรือเป็นโรคอ้วน และสูบบุหรี่ หากท่านอยู่ในข่ายดังกล่าวนี้ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมทั้งตรวจเลือดเพื่อหาค่าครีเอตินิน เพื่อนำเอาผลมาประเมินค่าการทำงานของไต ว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด หากได้ค่าการทำงานของไตต่ำก็อาจทำให้ไตไม่สามารถทำงานได้ดังเดิม สูญเสียหน้าที่ในการกำจัดของเสียในร่างกายออกไป สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังนั้น เริ่มแรกอาการอาจไม่รุนแรง อาจมีอาการได้แก่ อ่อนแรง สมองตื้อ เบื่ออาหาร นอนไม่ค่อยหลับ ผิวคันและแห้ง เป็นตะคริวเวลากลางคืน เท้าและข้อเท้าบวม ตาบวมน้ำ โดยเฉพาะในตอนเช้า ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในเวลากลางคืน หากท่านพบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงและมีอาการของโรคดังกล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว ควรรีบไปขอรับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาและคงอาการไว้ก่อนที่โรคไตเรื้อรังจะดำเนินไปถึงระยะรุนแรง ที่อาจทำให้ไตสูญเสียสมรรถภาพการทำงานไปอย่างถาวรได้ค่ะ

  • ออกกำลังกายพัฒนาสุขภาพ บรรเทาโรคต่าง ๆ ได้

    ออกกำลังกายพัฒนาสุขภาพ บรรเทาโรคต่าง ๆ ได้

    ออกกำลังกายพัฒนาสุขภาพ บรรเทาโรคต่าง ๆ ได้ การหาเวลาการออกกำลังกายวันละ 30 นาที เพียงแต่สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ยังผลให้สุขภาพกายเราดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ช่วยต่อต้านโรคภัยได้หลากหลาย ซึ่งการออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณดังต่อไปนี้ 1. ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายออกทางรูขุมขนซึ่งก็คือเหงื่อนั่นเอง ช่วยลดสารพิษตกค้างในร่างกายด้วย 2. ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น กว่าร้อยละ 70 ของคนที่ออกกำลังกายจะนอนหลับได้สนิทกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายเลย ทั้งนี้ควรออกกำลังกายก่อนเวลา 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยค่ะ 3. ช่วยเสริมสร้างความจำ ทำให้ความจำดีขึ้น กระตุ้นความคิดและทำให้สุขภาพจิตดี ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์และโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ 4. ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้น ลดเวลาการย่อยลง ลดความเจ็บปวดจากโรคริดสีดวงทวารและลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ดี ส่งเสริมให้หลอดเลือดและหัวใจทำงานได้มากขึ้น เพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารด้วย 5. ทำให้มีสุขภาพจิตทีดี ลดความเครียด บรรเทาอาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลต่าง ๆ ลดความคิดในการฆ่าตัวตายได้ 6. ช่วยให้กระดูกแข็งแรง มวลกระดูกเพิ่มขึ้นและหนาแน่นขึ้น ลดความเจ็บปวดจากหลังได้ร้อยละ 80 กระตุ้นการทำงานของกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกรานและกล้ามเนื้อโดยรอบ ช่วยขับของเสียออกจากล้ามเนื้อและกระดูกให้มีความแข็งแรงมากขึ้นได้ 7. ป้องกันโรคหวัด ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานต่อสู้กับเชื้อโรคได้รวดเร็วและตอบสนองได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงติดโรคเรื้อรังได้…

  • ต้อหิน อาจทำให้คุณตาบอดได้แบบไม่รู้ตัว

    ต้อหิน อาจทำให้คุณตาบอดได้แบบไม่รู้ตัว

    ต้อหิน อาจทำให้คุณตาบอดได้แบบไม่รู้ตัว โรคต้อหิน เป็นโรคอันตรายที่ทำให้คนไทยตาบอดมากเป็นอันดับต้น ๆ เพราะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการให้รู้ตัว จึงมักไม่ได้รับการรักษา ปัจจุบันมีคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสมาก และพบว่าผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่าตัว อาการของโรคต้อหินนี้ หมายถึงการเสียสมดุลระหว่างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา คือเมื่อมีการระบายออกไปน้อยกว่าการสร้างขึ้น จะเกิดการคั่งของน้ำในลูกตา ทำให้เกิดแรงดันในลูกตาสูงขึ้น บางครั้งสูงมากจนลูกตาแข็งเหมือนหิน ความดันในลูกตานี้จะมากจนไปกดเซลล์ประสาทจนตาเสื่อม ทำให้ลานสายตาแคบลง ตามัว และบอดได้ในที่สุด กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ก็มักเป็นคนที่มีกรรมพันธุ์ในครอบครัวอยู่แล้ว, ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี, คนที่เคยกินหรือฉีด หรือทาสตีรอยด์มาก่อน, เคยผ่าตัดโรคทางตาหรือมีอุบัติเหตุทางตามาก่อน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน คอพอกเป็นพิษ คนที่สายตาสั้นหรือยาวมาก ทำให้การระบายน้ำในลูกตาออกยาก ฯลฯ อาการของต้อหิน หากเป็นแบบเฉียบพลันผู้ป่วยจะปวดหัว ปวดตารุนแรงมาก มองเห็นไฟเป้นวงแบบรุ้งกินน้ำ ผู้ป่วยจะไปรับการรักษาได้ทัน แต่ส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวเพราะความดันเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ดังนั้นจึงทุกคนที่อายุเกิน 35 ปีขึ้นไปจึงควรไปตรวจคัดกรองเป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังโรคต้อหิน เพราะหากมีการสูญเสียการมองเห็นแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้ชัดเจนอีก การตรวจสายตาแบบง่าย ๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ก็เพียงนำเอามือปิดตาไว้ทีละข้าง แล้วอ่านหนังสือหรือมองสิ่งของ เปรียบเทียบดูทั้งสองข้างว่าชัดเจนหรือเห็นได้กว้างเท่ากันหรือไม่ หากมีความผิดปกติควรไปขอรับการตรวจจากจักษุแพทย์เพิ่มเติม…

  • ประโยชน์ 14 ข้อจากการออกกำลังกาย

    ประโยชน์ 14 ข้อจากการออกกำลังกาย

    ประโยชน์ 14 ข้อจากการออกกำลังกาย 1. ลดความเจ็บปวดของร่างกายลงได้หากเกิดอุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วย เพราะข้อต่อ กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะมีความแข็งแรง จึงทำให้ได้รับผลกระทบจากความเจ็บป่วยหรือเหตุไม่คาดฝันต่าง ๆ ได้น้อยลง 2. ภูมิใจในรูปร่างที่เซ็กซี่ของตนเอง มีความมั่นใจมากขึ้น ทำให้รู้สึกดีต่อตัวเองมากขึ้น ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศให้มากขึ้นด้วย 3. การออกกำลังกายลดการอักเสบในช่องปากได้ จึงมีปัญหาโรคปริทันต์น้อยลงด้วย 4. ช่วยปลอดปล่อยพลังงานสะสมในร่างกายออกมา ลดอาการอ่อนเพลีย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า อารมณ์ดีขึ้น 5. ลดปริมาณไขมันที่เกิดขึ้นจากความเครียด หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจากความวิตกกังวล 6. ลดความเสี่ยงในการเป็นหวัดลงได้ถึงร้อยละ 33 สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้มากขึ้น 7. บำรุงสายตาได้ด้วยนะ ลดภาวะจุดรับภาพเสื่อมที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุได้ถึงร้อยละ 70 แต่ระหว่างกายออกกำลังกายกลางแจ้งควรสวมแว่นกันรังสียูวีไว้ด้วยล่ะ 8. ช่วยให้นอนหลับได้ลึกขึ้น ยาวนานขึ้น นอนหลับสนิทขึ้น สุขภาพคุณจึงดีขึ้นหลายส่วน 9. แม้แต่การเดินก็ยังช่วยให้คุณห่างไกลโรคเบาหวานได้อีกหลายก้าวแล้ว 10. การออกกำลังกายช่วยลดไขมันรอบเอว ลดแก๊สในร่างกาย กระตุ้นการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ ป้องกันอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ เร่งให้กระบวนการย่อยอาหารเร็วขึ้น 11. ทำให้สมองสดใสขึ้น มีความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ลดลง ป้องกันภาวะสมองตื้นสร้างกล้ามเนื้อให้สมองของตนเองได้…

  • ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้

    ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้

    ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้ ปัจจุบันนี้มีการนิยมนำเอาสมุนไพรบางชนิดมาช่วยบรรเทาและรักษาโรคเบาหวานกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ “ปอบิด” หรือ “ปอกะบิด” นั่นเอง ซึ่งแม้จะมีฤทธิ์ช่วยในการลดน้ำตาลได้เลือดได้ แต่ก็พบว่ามีผู้ป่วยบางรายมีอาการไตวายเป็นผลข้างเคียงด้วย อันตรายมาก! ซึ่งมีรายงานจากการวิจัยพบว่า ปอบิดนี้ช่วยรักษาเบาหวานได้จริง สามารถลดระดับน้ำตาลในหนูทดลองได้ แต่ก็ทำลายตับของหนู และกระตุ้นหัวใจของกบได้ด้วย ซึ่งสมุนไพรดังกล่าวยังไม่มีงานวิจัยในด้านพิษวิทยาล่าสุดนี้มีงานวิจัยจาก รศ.รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าแม้ปอบิดจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ให้ผลใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน แต่ก็ไม่สามารถทดแทนยารักษาเบาหวานได้จริง ผ็ป่วยควรตรวจการทำงานของตับและไตทุก 3 เดือน และห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้ในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคตับหรือโรคไต รวมไปถึงผู้ที่มีพันธุกรรมเป็นโรคตับโรคไตในครอบครัวด้วย ผู้ป่วยเบาหวานนั้นมักจะมีตับ ไต ตับอ่อน หัวใจไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย หากต้องการใช้สมุนไพรไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 7 วัน เพราะปริมาณสารเคมีจากสมุนไพรควบคุมได้ยาก และไม่ควรกินแทนยา จึงควรมีช่วยหยุดพักในการกินหรือทานสมุนไพรชนิดอื่น ๆ สลับกันไป เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงได้อีกในอนาคตค่ะ

  • ขอเถอะนะ… อย่าเลี้ยงลูกให้อ้วน

    ขอเถอะนะ… อย่าเลี้ยงลูกให้อ้วน

    ขอเถอะนะ… อย่าเลี้ยงลูกให้อ้วน เด็กอ้วนจ้ำม่ำนั้นอาจจะดูน่ารักน่าอุ้ม แต่ความจริงแล้วการเลี้ยงเด็กให้อ้วนทำให้เด็กมีปัญหาสุขภาพหลายประการ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กอ้วนก็เป็นไปได้ดังนี้ค่ะ – เด็กทานอาหารเก่ง ทานอะไรก็อร่อยไปหมด – เด็กไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เพื่อการเผาผลาญอาหาร – เป็นเด็กที่มีความผิดปกติของฮอร์โมน พบได้น้อย แต่ก็สามารถรักษาได้ – เด็กมีความเครียด จึงระบายด้วยการกินอาหาร ความเครียดดังกล่าวอาจจะเป็นปัญหาเรื่องเพื่อน เรื่องการเรียน หรือความไม่อบอุ่นในครอบครัว การปล่อยให้เด็กอ้วนน้ำหนักเกินนาน ๆ นั้น อาจทำให้เกิดผลเสียได้ ไม่ว่าจะเป็น การเกิดเบาหวานในเด็ก ที่มักพบในครอบครัวที่มีกรรมพันธุ์เบาหวาน ทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง นอนกรน จนหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้กระดูกและข้อต่อเสื่อมก่อนวัยอันควรเพราะต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เป็นเวลานาน ตลอดจนอาจทำให้พัฒนาการล่าช้าลง ทั้งการหัดนั่ง หัดคลาน เดิน อาจล่าช้ากว่าเด็กทั่วไป และส่วนใหญ่เด็กอ้วนก็มักถูกเพื่อนล้อ จึงมีนิสัยเก็บตัว เข้ากับผู้อื่นไม่ค่อยได้ การเรียนและสมาธิแย่ลง หากสังเกตเห็นว่าเด็กด้วนแล้ว ควรหันมาเอาใจใส่กับสุขภาพของลูก ๆ ดังต่อไปนี้ 1. ดูแลเอาใจใส่ในเรื่องของอาหารการกิน ควบคุมปริมาณของแป้ง ไม่ว่าจะเป็นข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ของทอด…

  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มักเป็นตลอดชีวิต หากปล่อยปละละเลยหรือขาดการดูแล ก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมไปถึงอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะค่อย ๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลงจนเกิดโรคแทรกซ้อนได้ทุกระบบ ซึ่งได้แก่ – หลอดเลือดแดงทั้งเล็กและใหญ่ทั่วร่างกายแข็งและตีบ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสื่อมได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตามัว ตาบอด ไตวายเรื้อรัง ประสาทเสื้อ ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ท้องเดินหรือท้องผูก – โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง – หน้าซีดเป็นลมเวลาลุกขึ้นยืน – องคชาตไม่แข็งตัว – หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้หัวใจวายเสียชีวิตได้ – อัมพาต – ความจำเสื่อม – ติดเชื้อได้ง่าย เพราะเบาหวานทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง และอาจติดเชื้อซ้ำซาก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง ฝี พุพอง – การติดเชื้อรุนแรง เช่น กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบ วัณโรค –…

  • รู้จักเลือกถวายปัจจัยพระสงฆ์ ช่วยรักษาสุขภาพเพื่อกุศลอันยิ่งใหญ่

    รู้จักเลือกถวายปัจจัยพระสงฆ์ ช่วยรักษาสุขภาพเพื่อกุศลอันยิ่งใหญ่

    รู้จักเลือกถวายปัจจัยพระสงฆ์ ช่วยรักษาสุขภาพเพื่อกุศลอันยิ่งใหญ่ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือบุคคลผู้มีความสำคัญในการดำรงไว้ซึ่งพุทธศาสนา ดังนั้นเราพุทธศาสนิกชนควรส่งเสริมให้ธรรมฑูตเหล่านี้ได้มีสุขภาพดี มีอายุขัยยืนยาว ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน เพื่อการเผยแผ่พุทธศาสนาได้อย่างเต็มศักยภาพไปตลอดชีวิต ด้วยกิจของสงฆ์และข้อปฏิบัติตามธรรมวินัย ทำให้พระสงฆ์มีวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากปุถุชน สุขภาพของท่านจึงสัมพันธ์กับวัตรปฏิบัติ ชุมชน สิ่งแวดล้อม ความเชื่อ วัฒนธรรม และความเคยชินของโยมอุปัฎฐากด้วย ทำให้พระสงฆ์ในปัจจุบันนี้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคภัยหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาอีกมาก การถวายอาหารสำหรับพระสงฆ์ พระสงฆ์จะฉันอาหารที่ได้จากการบิณฑบาต ไม่เลือกอาหาร ไม่ติดรสชาติอาหาร ฉันพออิ่ม เพื่อให้มีพลังงานในการดำรงชีวิตและปฏิบัติศาสนกิจ ดังนั้นอาหารถวายพระสงฆ์จึงควรเลือกที่มีไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย มีผักผลไม้ให้มาก ให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการป้องกันโรคภัยเบียดเบียน การถวายยาสำหรับพระสงฆ์ พระสงฆ์จะฉันอาหารแค่วันละ 1-2 มื้อเท่านั้น คือมื้อเช้าและมื้อเพล ดังนั้นในแต่วันจึงมีช่วงเวลาที่ไม่มีอาหารในกระเพาะยาวนาน ในด้านของแพทย์ผู้รักษาจึงต้องปรับการจ่ายยาให้เหมาะสมกับระยะเวลาการออกฤทธิ์ ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและยา รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจากการฉันยาเมื่อท้องว่าง ยกตัวอย่างเช่น ยาสำหรับรักษาเบาหวาน ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดจะสัมพันธ์กับมื้ออาหารจึงต้องปรับให้เหมาะสมด้วย เพื่อการควบคุมระดับน้ำตาลได้ตลอดเวลา ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงเกินไป การถวายสังฆทาน ความพิจารณาคุณภาพของอาหารและคุณประโยชน์ทางด้านโภชนาการ รวมไปถึงวันผลิตและวันหมดอายุด้วย บ่อยครั้งที่การถวายถังสังฆทานที่จัดชุดไว้ เป็นการถวายอาหารที่ใกล้หมดอายุให้กับหมู่สงฆ์ คุณอาจได้บาปแทนได้บุญ การถวายรองเท้าที่มีคุณภาพดี เพราะการเดินเท้าไปโปรดสัตว์ในหลายที่…

  • การดูแลผิวหนังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

    การดูแลผิวหนังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

    การดูแลผิวหนังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน กว่าร้อยละสามสิบของผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดปัญหาผิวหนัง ได้แก่ อาการคัน ผิวหนังอักเสบ การติดเชื้อ ฝีหนอง แผลหายยาก ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรดูแลผิวหนังของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ – ทำความสะอาดผิวหนังและซับให้แห้งไว้เสมอ – บริเวณขาหนีบหรือรักแร้หลังอาบน้ำให้ซับให้แห้งและโรยแป้งฝุ่นไว้ ไม่ควรปล่อยให้อับชื้น โดยเฉพาะคนที่อ้วนเพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย – หากเป็นคนที่มีผิวแห้ง ควรทาโลชั่นหรือครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง หากมีเหงื่อออกมาสามารถทาแป้งฝุ่นบาง ๆ ให้สบายตัวขึ้นได้ – หากจำเป็นต้องออกแดด ควรทาครีมกันแดดทุกครั้ง – หลีกเลี่ยงการเกาหรือขีดข่วนอื่น ๆ – สำรวจผิวหนังตนเองสม่ำเสมอว่ามีตุ่ม ผื่น ก้อนหรือบาดแผลหรือไม่ – หากต้องฉีดอินซูลินควรดูว่าบริเวณที่ฉีดมีแผลหรือการอักเสบหรือเปล่า – ไม่ควรอาบน้ำร้อนเกินไป หรือแช่ฟองสบู่เพราะผิวจะยิ่งแห้ง ไม่ควรฟอกสบู่ยาหรือสบู่ที่มีฤทธิ์ทำให้ผิวแห้ง และหลังอาบน้ำควรทาครีมบำรุงผิวให้ความชุ่มชื้นด้วย ยกเว้นบริเวณซอกนิ้วเพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ – หากมีบาดแผลควรทำแผลให้ถูกวิธี สำหรับแผลสดให้ใช้น้ำเกลือทำแผล ห้ามใช้แอลกอฮอล์ ยาแดง หรือไอโอดีนเพราะจะระคายเคือง และควรปิดบาดแผลด้วยผ้าทำแผลที่สะอาด – ในช่วงฤดูหนาว หรืออากาศแห้งและเย็น ให้ใช้เครื่องทำความชื้นในบ้าน เพราะบาดแผลบนผิวหนังของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะหายยาก ดังนั้นควรรักษาสุขภาพผิวหนังไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ