Category: มะเร็งเต้านม
-
ประโยชน์ 14 ข้อจากการออกกำลังกาย
—
by
ประโยชน์ 14 ข้อจากการออกกำลังกาย 1. ลดความเจ็บปวดของร่างกายลงได้หากเกิดอุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วย เพราะข้อต่อ กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะมีความแข็งแรง จึงทำให้ได้รับผลกระทบจากความเจ็บป่วยหรือเหตุไม่คาดฝันต่าง ๆ ได้น้อยลง 2. ภูมิใจในรูปร่างที่เซ็กซี่ของตนเอง มีความมั่นใจมากขึ้น ทำให้รู้สึกดีต่อตัวเองมากขึ้น ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศให้มากขึ้นด้วย 3. การออกกำลังกายลดการอักเสบในช่องปากได้ จึงมีปัญหาโรคปริทันต์น้อยลงด้วย 4. ช่วยปลอดปล่อยพลังงานสะสมในร่างกายออกมา ลดอาการอ่อนเพลีย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า อารมณ์ดีขึ้น 5. ลดปริมาณไขมันที่เกิดขึ้นจากความเครียด หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจากความวิตกกังวล 6. ลดความเสี่ยงในการเป็นหวัดลงได้ถึงร้อยละ 33 สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้มากขึ้น 7. บำรุงสายตาได้ด้วยนะ ลดภาวะจุดรับภาพเสื่อมที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุได้ถึงร้อยละ 70 แต่ระหว่างกายออกกำลังกายกลางแจ้งควรสวมแว่นกันรังสียูวีไว้ด้วยล่ะ 8. ช่วยให้นอนหลับได้ลึกขึ้น ยาวนานขึ้น นอนหลับสนิทขึ้น สุขภาพคุณจึงดีขึ้นหลายส่วน 9. แม้แต่การเดินก็ยังช่วยให้คุณห่างไกลโรคเบาหวานได้อีกหลายก้าวแล้ว 10. การออกกำลังกายช่วยลดไขมันรอบเอว ลดแก๊สในร่างกาย กระตุ้นการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ ป้องกันอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ เร่งให้กระบวนการย่อยอาหารเร็วขึ้น 11. ทำให้สมองสดใสขึ้น มีความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ลดลง ป้องกันภาวะสมองตื้นสร้างกล้ามเนื้อให้สมองของตนเองได้…
-
อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ
อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ ใครที่มีอาการเจ็บป่วยบ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ บางทีลองมาสังเกตห้องน้ำของคุณบ้างนะคะ ว่ามีเชื้อโรคร้ายแฝงอยู่บ้างหรือเปล่า ลองมาเช็คดูไปพร้อม ๆ กันนะคะ 1. ยาแนวในห้องน้ำทำให้เกิดโรคภูมิแพ้และระบบทางเดินหายใจ หากสูดดมในปริมาณมาก อาจทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ดังนั้นหลังจากการก่อสร้างบ้านหรือต่อเติมซ่อมแซมห้องน้ำ ควรเปิดประตู หรือพัดลมระบายอาการเพื่อระบายความเข้มข้นของสารเคมีจากยาแนวเหล่านี้ออกไปให้มากที่สุด 2. ความชื้นในห้องน้ำทำให้คุณป่วยได้ ไม่ควรปล่อยให้ห้องน้ำชื้น ควรเปิดพัดลมดูดอากาศและใช้ม๊อบถูกพื้น เช็คห้องน้ำให้หมาดหรือแห้งได้ก็จะยิ่งดี ป้องกันการก่อตัวของเชื้อราด้วย 3. ติดตั้งพัดลมดูดอากาศผิดตำแหน่ง เช่นติดไว้บนเพดาน ทำให้ความชื้นไม่ถูกระบายออกไป ทางที่ดีควรติดพัดลมระบายอากาศที่สามารถระบายอากาศสู่ภายนอกได้จะดีที่สุด 4. ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรง ยิ่งโดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียและคลอรีน เพราะสารทั้งสองชนิดทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ปอด และทำให้เกิดโรคหอบหืดได้ด้วย 5. ก๊อกน้ำไม่สะอาดหรือไม่ยอมทำความสะอาด แพร่เชื้อโรคได้มากที่สุดนะคะ เพราะก็อกน้ำเป็นส่วนที่ทุกคนในบ้านจับต้องมากที่สุดแต่มักได้รับการทำความสะอาดน้อยที่สุดด้วย 6. ม่านห้องน้ำแบบไวนิล มีสารที่ก่ออันตรายและสารก่อมะเร็งได้ ควรเปลี่ยนมาเป็นแบบโพลีเสเตอร์หรือไนลอนดีกว่า 7. น้ำยาทำความสะอาดสำเร็จรูปที่มีความสามารถในการกัดเซาะได้ดีนั้น จะทำความรุนแรงต่อผิวและกลิ่นฉุน ๆ ยังระคายเคืองทางเดินหายใจได้อีก ลองเปลี่ยนมาใช้เบกกิ้งโซดาซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่ กับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทำความสะอาดห้องน้ำดีกว่า นำสองอย่างนี้มาผสมกันแล้วป้ายไว้บนสิ่งสกปรกประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วขัดล้างตามปกติ จะปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณมากกว่าค่ะ 8. ควรกรองคลอรีนออกจากน้ำด้วย…
-
เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
—
by
เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในประเทศไทยนั้นพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชายมากเป็นอันดับสาม รอบจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด ในส่วนผู้หญิงพบเป็นอันดับที่ห้า โรคนี้นั้นยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนแต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างได้แก่ – อายุมากกว่า 50 ปีขึ้น – มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน – มีประวัติเคยเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเต้านมก่อน – ตรวจพบเคยมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบมาก่อน – มีภาวะโรคอ้วน สูบบุหรี่ – ฯลฯ ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่โดยด่วน ได้แก่ อุจจาระมีมูกเลือดหรือเป็นสีดำ หรือสีดำแดง หรือการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือท้องผูกและท้องเสีย ขนาดของอุจจาระเล็กกว่าปกติ รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด แน่นท้อง อึดอัดท้อง ปวดท้อง อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่รู้ตัว ฯลฯ การรักษานั้นสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งและตำแหน่งของโรค ทั้งการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด การรักษาด้วยรังสี การใช้หลายวิธีร่วมกัน เป็นต้น การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้แก่ การกินอาหารที่ปรุงสุกสะอาด กินผักและผลไม้มาก ๆ เพิ่มกากใยในลำไส้ เพื่ออุจจาระได้ง่าย หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด มีไขมันสูง รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มากตรฐาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอและงดการสูบบุหรี่…
-
วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
—
by
วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ทุกวันนี้มีการค้นพบว่ามนุษย์เราสามารถเป็นมะเร็งตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้กว่าร้อยชนิดแล้วนะคะ ซึ่งแม้จะมีการตรวจค้นและการรักษาที่ดีเพียงไร แต่มะเร็งบางชนิดก็อาจรักษาได้ไม่หายขาด และอาจกลับมาเป็นใหม่ได้ทุกเมื่อ รวมไปถึงอีกส่วนที่อาจรักษาไม่ได้และต้องเสียชีวิตไป ปี ๆ หนึ่งเป็นจำนวนมาก จะดีกว่าไหมที่เราจะหันมาป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเสียก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา การป้องกันมะเร็งนั้น สามารถทำได้ดังนี้ – ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผัก ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง โฮลวีต โฮลเกรน เมล็ดธัญพืชชนิดต่าง ๆ ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ – กินกะหล่ำและผักในตระกูลเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ผักกาด ผักคะค้า ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่าช่วยป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และระบบทางเดินหายใจ – ทานอาหารที่มีวิตามินซี ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร – ทานอาหารที่มีวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน ที่พบได้ในผักผลไม้สีเหลือง สีเขียวเข้ม ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งปอดได้ – รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้ไม่อ้วน…
-
ระวังไว้ก่อน กับมะเร็งที่ไต
ระวังไว้ก่อน กับมะเร็งที่ไต มะเร็งไตเป็นโรคที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยกันเหมือนมะเร็งอื่น ๆ อย่าง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ฯลฯ มากนัก ในประเทศไทยนั้นมีผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งไต 1.6 รายต่อแสนคน และผู้หญิง 0.8 รายต่อประชากรแสนคน พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ 50-70 ปีขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมาตรวจพบมะเร็งไตเพราะมารักษาโรคอื่นๆ อาการของมะเร็งไตนั้น พบได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดบริเวณเอว คลำพบก้อนที่เอวซีด เบื่ออาหาร มีไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด สามารถแบ่งมะเร็งไตออกเป็น สี่ระยะได้แก่ ระยะแรกจะมีขนาดก้อนน้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตร ยังไม่ลุกลาม และจะโตขึ้นกว่าเจ็ดเซนติเมตรแต่ยังอยู่ในไตเป็นระยะที่สอง ส่วนระยะที่สามเริ่มลุกลามไปยังหลอดเลือดดำ หรือกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือ ในระยะที่สุดจะลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงแล้ว ได้แก่ ต่อมหมวกไต ปอด ตับ กระดูก ซึ่งแนวทางการรักษามะเร็งไต ก็ได้แก่ การผ่าตัด สำหรับมะเร็งไตระยะที่ 1-2 การฉายรังสีเพื่อเป็นการบรรเทาอาการ การใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่อวัยวะอื่น ๆ รวมไปถึงการให้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในกรณีที่มีการกระจายตัวไปที่อวัยวะอื่นแล้วเท่านั้น และอีกวิธีคือการรักษาแบบเฉพาะเจาะกลุ่มโดยการใช้ยา ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ…
-
โรคมะเร็งและแนวทางการรักษา
โรคมะเร็งและแนวทางการรักษา โรคมะเร็งในปัจจุบันนี้ พบได้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ยิ่งโดยเฉพาะเพสหญิงด้วยแล้ว ทั้งวิถีชีวิตและการกินอาหรก็เลียนแบบไปทางตะวันตกมากขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางผู้หญิงตะวันตกมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาการผิดปกติสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเป็นมะเร็งนั้นจะได้แก่อาการอ่อนเพลีย ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลงไปประมาณร้อยละ 10 ของร่างกายภายในหกเดือน (แต่ถ้าขึ้น ๆ ลง ๆ ถือว่าปกติ) แต่อาการเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นโรคมะเร็งอย่างเดียว อาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นได้ด้วย การรักษามะเร็งนั้นมีการรักษาร่วมกันหลายวิธี ทั้งการผ่าตัด การรักษาด้วยเคมี การฉายแสง ในส่วนของการผ่าตัดนั้นใช้ได้กับมะเร็งแทบทุกชนิดแต่ต้องดูความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นระยะของโรค หรืออวัยวะนั้นผ่าตัดได้หรือไม่ ส่วนมะเร็งที่เลือกผ่าตัดเป็นอันดับแรก ๆ ก็คือ มะเร็งตับ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งช่องปากระยะต้น มะเร็งเต้านม มดลูก ต่อมลูกหมากระยะต้น เป็นต้น สำหรับวิธีเคมีบำบัด จะใช้เพื่อลดการกระจายตัวของโรคไปที่อื่นหลังการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ก็มีมะเร็งบางชนิดที่ทำได้แค่การให้เคมีบำบัดอย่างเดียว เช่น มะเร็งเม็ดเลือด และบางครั้งก็มีการให้ยาเคมีบำบัด ร่วมกับการฉายรังสี เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น มะเร็งศีรษะและลำคอ ในส่วนของการให้ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่แล้วจะเป็นยาฉีดที่ให้ทางหลอดเลือดดำ หรืออาจให้ยาเคมีบำบัดทางอุปกรณ์พิเศษที่ต่อเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่ได้โดยตรง เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดต้องให้หลายครั้ง ซึ่งต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพราะอาจมีอาการหลังจากให้ยาได้ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้…
-
ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด
—
by
ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด การขยับเขยื้อนร่างกายเพื่อให้สุขภาพดีขึ้นนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายที่ต้องมีกฎ กติกา พื้นที่ อุปกรณ์อะไรเหล่านั้นหรอกค่ะ การขยับร่างกายซ้ำ ๆ หรือกายบริหารเบาๆ ที่สามารถทำให้ร่างกายได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ก็ช่วยฟิตหรือเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายได้แล้ว สำหรับผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันหรือนั่ง ๆ นอน ๆ ทั้งวันไม่ได้ทำอะไร อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ดังต่อไปนี้ – เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจตาย 1.5-2 เท่า – อัมพฤกษ์ อัมพาต 1.5-2 เท่า – ความดันโลหิตสูง 1.3-1.5 เท่า – เบาหวาน 1.3-1.5 เท่า – มะเร็งลำไส้ใหญ่ 1.3-2 เท่า – มะเร็งเต้านม 1.1-1.3 เท่า – กระดูกพรุน 1.5-2 เท่า รวมไปถึงโรคอ้วน น้ำหนักเกิน และโรคอื่น ๆ อีกกว่า 20 โรคด้วย ดังนั้นในแต่ละวันเราควรหากิจกรรมทำเพื่อขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง…
-
ใส่ใจสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
ใส่ใจสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีรายงานการพบมะเร็งแล้วในคนกว่าร้อยชนิด และคนไทยเองก็ตายด้วยโรคมะเร็งเป็นอันหนึ่งหนึ่งมาโดยตลอด และยังมีแนวโน้มการป่วยและตายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งทวารหนัก โดยผู้ที่ป่วยกว่าครึ่งจะเป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่ค่อย ๆ คืบคลานอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึวควรดูแลตัวเองให้แข็งแรงจะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้ด้วยการดูแลเอาใจใส่สุขภาพดังต่อไปนี้ 1. รักษาตัวไม่ให้อ้วนเกินมาตรฐาน ทานอาหารแต่พอดีและออกกำลังกายเป็นประจำ รักษาสภาพจิตใจให้สดใสสดชื่นทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น 2. ทานอาหารให้ครบถ้วนให้ได้วิตามินและแร่ธาตุที่หลากหลาย แต่ลดอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอดหรือย่าง รวมไปถึงอาหารหมักดอง อาหารแปรรูปใส่ดินประสิว หรือเสี่ยงมีเชื้อรา และอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ด้วย ควรทานอาหารสด ๆ ผักสด ผลไม้สด นอกจากจะมีสารต้านอนุมูลอิสระแล้วยังมีกากใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย 3. งดสูบบุหรี่ สามารถลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอดได้ร้อยละ 60 4. งดสุรา หากสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงในการมะเร็งถึงเก้าเท่าและหากสูบบุหรี่ด้วยอีกจะเพิ่มความเสี่ยงสูงถึง 50 เท่า! 5. มีเพศสัมพันธ์เมื่อพร้อม เมื่อถึงวัยที่เหมาะสม ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยและมีคู่หลายคนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น 6.…
-
รักษาสุขภาพป้องกันมะเร็งไว้ก่อน
รักษาสุขภาพป้องกันมะเร็งไว้ก่อน สาเหตุการตายของคนไทยนั้นเกิดจากโรคมะเร็งเป็นอันดับหนึ่งมานานหลายปีแล้ว ปีหนึ่ง ๆ กว่าสามแสนรายเลยทีเดียว มะเร็งนั้นก็รู้กันอยู่แล้วว่ารักษาได้ยาก บางรายก็รักษาไม่หาย อีกทั้งยังมีหลายปัจจัยในการก่อโรคที่ระบุให้แน่ชัดลงไปไม่ได้อีกด้วย แต่การดูแลสุขภาพตัวเองไว้อย่างเหมาะสม เชื่อได้ว่าจะป้องกันการเกิดมะเร็งได้ ซึ่งการดูแลตัวเองดังกล่าวนั้นได้แก่ 1. เน้นทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีไขมันน้อย และมีเส้นใยอาหารสูง ๆ อย่างผักผลไม้ทั้งหลาย ที่ยังให้วิตามินแร่ธาตุกับร่างกาย ช่วยต้านทานอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ ไม่ควรทานอาหารปิ้งย่างไหม้เครียด ของหมักดองหรือแปรรูป ตลอดจนอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อรา และอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อย่างปลาร้า ปลาจ่อมด้วยนะคะ 2. ทำให้การออกกำลังกายเป็นกิจวัตรของคุณ และควบคุมน้ำหนักตัวให้พอดีกับส่วนสูง เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรงกระฉับกระเฉง และเสริมภูมิต้านทานให้มีประสิทธิภาพ 3. เลิกสูบบุหรี่ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด และงดดื่มสุราด้วยเพราะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก มะเร็งกล่องเสียง คอหอย มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งเต้านมด้วย 4. หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดจัดจ้าในช่วงเวลาตั้งแต่ 10.00-16.00 น. แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่าลืมทาครีมกันแดดก่อนทุกครั้งด้วยค่ะ 5. ไม่สำส่อนในกามารมณ์ และมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีอันเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกด้วย 6.…
-
ตรวจสอบความเสี่ยง…ในการเป็นมะเร็งเต้านม
ตรวจสอบความเสี่ยง…ในการเป็นมะเร็งเต้านม รองจากมะเร็งปากมดลูกแล้ว ก็เห็นจะเป็นมะเร็งเต้านมนี่ล่ะค่ะที่พบได้มากที่สุดในเพศหญิง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีความเสี่ยงถึง 1 ใน 9 ของผู้หญิงเลยทีเดียวที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมนั้นได้แก่ การใช้ฮอร์โมนทดแทนในการรักษา เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทอง, การใช้ยาคุมกำเนิดแบบรับประทานเป็นเวลานาน, ไม่เคยให้นมบุตร, ดื่มเหล้าวันละ 2 แก้วขึ้นไป, อ้วน น้ำหนักตัวมาก, ไม่ออกกำลังกาย รวมทั้งทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปด้วย และปัจจัยบางประการที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ แต่ก็เป็นปัจจัยในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมด้วย ก็คือ อายุที่มากขึ้น, การมีประจำเดือนมาเร็วก่อนอายุ 12 ปี และหมดช้าคือหลังอายุ 50 ปี, มีคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน หรือมีความผิดปกติของยีนส์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่, ไม่เคยมีบุตร หรือมีภายหลังอายุ 50 ปี, เคยตรวจพบว่าเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในภาวะก่อนเป็นมะเร็งเต้านม รวมทั้งเคยมีประวัติเป็นมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมไปถึงมีคนในครอบครัวเคยเป็นด้วย สำหรับผู้ที่กังวลว่าตนเองจะเข้าข่ายมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมด้วยนั้น การตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ เพื่อหาความผิดปกติ รวมทั้งไปตรวจร่างกายกับแพทย์เป็นประจำก็เป็นการช่วยลดความเสี่ยงและลดความรุนแรงในการเป็นโรคได้อีกวิธีหนึ่ง อีกทั้งการตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะมีอัตราการหายจากโรคมากกว่าผู้ที่ไม่คอยตรวจคลำเต้านมด้วยค่ะ