Tag: โรคพาร์กินสัน

  • โรคพาร์กินสัน หรือโรคสั่นสันนิบาต

    โรคพาร์กินสัน หรือโรคสั่นสันนิบาต

    โรคพาร์กินสัน หรือโรคสั่นสันนิบาต โรคพาร์กินสัน เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เริ่มเป็นที่รู้จักในวงการแพทย์ตั้งแต่ราวสองร้อยปีก่อน โดยในอดีตมักเข้าใจว่าโรคนี้มีความผิดปกติที่ไขสันหลัง แต่ปัจจุบันนี้ทราบชัดแล้ว่า พยาธิสภาพของโรคพาร์กินสัน เกิดขึ้นที่เนื้อสมองส่วนลึก ในระยะแรก ๆ ของโรคแพทย์จะยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ แต่เมื่อติดตามผู้ป่วยไปสักระยะหนึ่งอาการต่าง ๆ ก็จะปรากฎชัดเจนขึ้น กลไกการเกิดโรคพาร์กินสันนั้น เกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองก็คือ โดพามีน และอะซิทิลโคลีน โดยปกติจะอยู่ในสภาวะสมดุล แต่เมื่อเซลล์สมองที่สร้างโดพามีนตายไปก็จะเสียสมดุล จนทำให้ร่างกายเสียสมดุล เคลื่อนไหวผิดปกติ จนกลายเป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งอาการทางระบบประสาทที่โดดเด่นของพาร์กินสันมีอยู่สามประกอรได้แก่ อาการเกร็ง สั่น และเคลื่อนไหวได้ช้า แนวทางในการรักษาโรคพาร์กินสัน มีหลักก็คือต้องเพิ่มระดับของสารโดพามีนในสมอง ด้วยการให้ยาหรือการกระตุ้นสมองให้สร้างโดปามีนเพิ่มขึ้น เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ของโรคและป้องกันโรคแทรกซ้อน แต่สำหรับผู้ที่ใช้ยาไม่ได้ผลก็จะเป็นการผ่าตัดด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง ซึ่งหลังการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและสามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์, การรักษาด้วยสารกระตุ้นเซลล์ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการวิจัย, การรักษาด้วยยีนบำบัด ก็ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการทดลองวิจัยเช่นกัน การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จำเป็นต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด – ป้องกันมิให้เดินหกล้มด้วยการเลือกสวมรองเท้าที่มีพื้นยาง เก็บกวาดของใช้ในบ้านบนพื้นอย่างให้เกะกะ ติดตั้งราวจับไว้ในห้องน้ำ ทางเดินและบันได – ช่วยให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายบริหารร่างกายตามสมควรและสม่ำเสมอ จะทำให้ผู้ป่วยไม่มีอาการซึมเศร้าด้วย – ผู้ป่วยพาร์กินสันอาจท้องผูกได้ง่าย เพราะการบีบตัวของลำไส้จะผิดปกติ แม้ในอดีตโรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวไม่ได้…

  • 10 สาเหตุใหญ่ ๆ ของโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุ

    10 สาเหตุใหญ่ ๆ ของโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุ

    10 สาเหตุใหญ่ ๆ ของโรคพาร์กินสันในผู้สูงอายุ เมื่อคนเราก้าวเข้าสู่วัยชรานั้น ความเสื่อมโทรมก็มาเยือนเป็นเรื่องธรรมดา แม้แต่ระบบประสาทก็เป็นจุดที่สามารถเสื่อมได้ไม่แตกต่างจากอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันขึ้นได้ ส่งผลให้เกิดอาการสั่นเกร็ง และเคลื่อนไหวได้ช้า มักมีสาเหตุดังต่อไปนี้ 1. ความเสื่อมชราของสมอง เซลล์สมองที่สร้างสารโดพามีนลดจำนวนลง พบมากในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปทั้งสองเพศ เป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะแน่นอนและเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดด้วย 2. ยากล่อมประสาท หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดการสร้างสารโดพามีน พบได้ในผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องรับยาชนิดนี้เพื่อป้องกันการคลุ้มคลั่งและอาการอื่น ๆ ทางประสาท 3. ยาลดความดันโลหิตสูง ในอดีตมียาลดความดันโลหิตที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลางทำให้สมองลดการสร้างโดพามีน แต่ยาลดความดันโลหิตในระยะหลัง ๆ จะมีฤทธิ์นอกระบบประสาทส่วนกลาง จึงไม่มีผลต่อสมองที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอีกต่อไป 4. หลอดเลือดสมองอุดตัน ทำให้เซลล์สมองที่สร้างโดปามีนน้อยลงหรือหมดไป 5. ประสบกับสารพิษทำลายสมอง เช่น พิษจากคอร์บอนมอนอกไซด์ หรือสารแมงกานีนในโรงงานผลิตถ่ายไฟฉาย 6. สมองขาดออกซิเจน ไม่ว่าจะเป็นการถูกบีบคอ จมน้ำ หรือการอุดตันทางเดินหายจากเสมหะหรืออาหาร 7. ศีรษะถูกกระทบกระเทือน ไม่ว่าจะเป็นจากอุบัติเหตุ หรือการเล่นกีฬา 8. สมองอักเสบ 9. โรคทางพันธุกรรมบางชนิด 10. ยาต้านกลุ่มแคลเซียมที่ใช้กับโรคหัวใจ…

  • ผู้สูงวัยกับโรคพาร์กินสัน

    ผู้สูงวัยกับโรคพาร์กินสัน

    ผู้สูงวัยกับโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ ทำให้มีการเคลื่อนไหวได้น้อยลง ช้าลงและร่างกายสั่นเกร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะท้าย ๆ ก็จะมีอาการสมองเสื่อมร่วมด้วยได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญของโรคนี้ เกิดจากการลดลงของสารโดพามีนในสมอง เพราะสมองส่วนที่ทำหน้าที่สร้างสารนี้ทำงานน้อยลง สามารถเกิดขึ้นได้เอง และพบได้บ่อยที่สุด อีกทั้งยังมีสาเหตุอื่น ๆเช่น ความผิดปกติในสมองจากหลอดเลือดอุดตัน การกินยาบางชนิด การมีหลอดเลือดสมองแตก ฯลฯ และในอนาคตนั้นสังคมไทยจะเป็นสังคมของผู้สูงวัยมากขึ้น เพราะหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้หญิงไม่แต่งงานมีมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือการมีลูกน้อยลง ผู้สูงวัยจึงจำเป็นต้องพึ่งตนเองให้มากขึ้นด้วยยึดหลัก 3 อ. ได้แก่ 1. อารมณ์และสุขภาพจิต หมั่นออกำลังกายเป็นนิจ เพื่อช่วยให้สุขภาพจิตดี ร่างกายแข็งแรง ทำให้ทรงตัวได้ดี และนอนหลับได้ง่ายขึ้น ป้องกันความเสื่อมของร่างกายในส่วนต่าง ๆ การออกกำลังกายนี้สามารถเลือกได้ตามชอบ ทั้งการเล่นกีฬาและการใช้แรงงานทำงานในชีวิตประจำวัน ควรหมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอวันละอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง 2. อากาศและสภาพแวดล้อม อยู่ในที่ที่มีอากาศดี สะอาดปลอดโปร่ง มีลมพัดสบาย หายในได้สะดวก ทำให้ร่างกายและสมองได้รับออกซิเจนได้เต็มที่ ผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ในเมืองควรหาโอกาสไปพักผ่อนต่างจังหวัดตามชนบทหรือชายทะเลบ้าง 3. งานอดิเรก สร้างความเพลิดเพลิน ทำให้ไม่เหงา ไม่ว่าจะเป็นงานที่สร้างรายได้หรือไม่ก็ได้ อาจเป็นการเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสังคมก็ได้ ลูกหลานและคนในครอบครัวก็ตาม หากมีเวลาว่างในวันหยุดก็ควรพาผู้สูงอายุในบ้านไปท่องเที่ยวพักผ่อน ผู้ที่อยู่ห่างไกลกัน…

  • รู้จักกับโรคพาร์กินสัน

    รู้จักกับโรคพาร์กินสัน

    รู้จักกับโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสันนั้นเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายมีอาการเกร็ง สั่นและเคลื่อนไหวได้ช้า มีสาเหตุมาจาก 1. ความเสื่อมสภาพของสมอง ทำให้เซลล์สมองส่วนที่สร้างสารโดพามีนซึ่งทำหน้าที่ในการสั่งการให้ร่างกาย เคลื่อนไหว มีจำนวนที่ลดลง พบมาในกลุ่มที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด 2. หลอดเลือดในสมองอุดตัน ทำให้เซลล์ที่สร้างโดพามีนน้อยลง 3. เกิดจากสารพิษมาทำลายสมอง เช่น พิษจากคาร์บอนมอนนอกไซด์ หรือแมงกานีนในโรงงานถ่ายไฟฉาย 4. สมองขาดออกซิเจนในกรณีที่จมน้ำ ถูกบีบคอ หรือการอุดตันของทางเดินหายใจจากเสมหะหรืออาหาร 5. สมองถูกกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ 6. สมองเกิดการอักเสบ 7. โรคทางพันธุกรรม เช่น โรควิลสัน 8. เกิดจากยากลุ่มต้านแคลเซียมที่ใช้ในโรคหัวใจ โรคสมอง ยาแก้เวียนศีรษะและยาแก้อาเจียน อาการของโรคพาร์กินสันนี้จะแสดงออกมามากหรือน้อยก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น อายุ ระยะเวลาการเกิดโรค และภาวะแทรกซ้อน มีอาการที่แสดงออกก็คือ 1. อาการเริ่มแรกของโรคก็คืออาการสั่น กว่าร้อยละ 60 จะสั่นโดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่ง ๆ แต่ถ้าเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ อาการสั่นก็จะน้อยลง มักสั่นที่มือหรือเท้า อาจพบได้ที่คางหรือลิ้นด้วย 2.…

  • กลูต้าไทโอนทำให้ผิวขาวใสได้จริงหรือ?

    กลูต้าไทโอนทำให้ผิวขาวใสได้จริงหรือ?

    กลูต้าไทโอนทำให้ผิวขาวใสได้จริงหรือ? กลูต้าไทโอนเป็นสารที่พบได้ในพืช ผัก ผลไม้ทั่วไป รวมทั้งเนื้อสัตว์ด้วย แหล่งของกลูต้าไทโอนที่พบได้มากได้แก่ อะโวคาโด หน่อไม้ฝรั่ง สตรอเบอ์รี่ มะเขือเทศ ส้ม บร็อกโคลี่ ผักโขม เกรปฟรุต ฯลฯ และกลูต้าไทอนนี้ยังพบได้ในเซลล์ตับของเราเอง ซึ่งมนุษย์ผลิตได้เองตามธรรมชาติ แต่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น กลูต้าไทโอนเป็นกรดอมิโนที่สำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายได้ ช่วยให้ตับขับสารพิษออกจากร่างกายด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นสารที่นำมารักษาโรคข้ออักเสบ มะเร็ง พาร์กินสัน โรคตับ โรคไต โรคเอดส์ รักษาอาการหูตึงจากเสียงดัง รักษาภาวะเป็นหมันในเพศชายได้ ส่วนที่ทานแล้วผิวขาวขึ้นนั้นเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น เพราะกลูต้าไทโอนนั้นจะเข้าไปยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินบนผิวหนังและตามร่างกายด้วย ด้วยความที่สารนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายเทียบเท่าวิตามินซีหรือวิตามินอี การเพิ่มสารนี้เข้าไปในร่างกายจะช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น ช่วยให้อายุยืนยาวขึ้น ซึ่งนั่นเป็นวัตถุประสงค์หลักของกลูต้าไทโอนมากกว่าผิวขาวใส แต่ก็ใช่ว่าจะกินกลูต้าไทโอนเข้าไปแล้วจะได้รับผลอย่างที่ต้องการทุกครั้ง หากคุณดื่มเหล้า เบียร์ สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ หรือทานยาพาราเซตามอลอยู่บ่อย ๆ ตลอดจนออกกำลังกายหนัก ๆ ก็จะทำให้กลูต้าไทโอนสูญเสียประสิทธิภาพลงไปได้ และการกินกลูต้าไทโอนนี้ก็อาจทำให้มีผลข้างเคียงด้วยคือ ทำให้ผิวหนังแดง ความดันโลหิตต่ำ หอบหืดเฉียบพลัน จึงควรสังเกตอาการหลังการกินไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามการทานอาหารทุกหมู่ที่มีความสดใหม่จากธรรมชาติ และดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้ผิวพรรณดูสดใส เปล่งปลั่งร่างกายแข็งแรงได้อย่างเต็มที่ที่สุดแล้วค่ะ