Tag: สูบบุหรี่

  • 9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!!

    9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!!

    9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!! ในโอกาสครบรอบห้าสิบปีของการประกาศว่า การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของ โรคมะเร็งปอด และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ล่าสุดมีการรับรองว่า 9 โรคใหม่ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มือสองจากผู้อื่นได้แก่ 1. มะเร็งตับ 2. มะเร็งลำไส้ 3. วัณโรค ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคมากขึ้น เสียชีวิตมากขึ้นและกลับมาเป็นซ้ำมากขึ้นด้วย 4. เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานถึงร้อยละ 30-40 เทียบกับผู้ที่ไม่สูบ 5. จอประสาทตาเสื่อมซึ่งจะสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น 6. เพดานปากแหว่งตั้งแต่เกิด ในแม่ที่สูบบุหรี่ 7. ตั้งครรภ์นอกมดลูก 8. โรคข้อรูมาตอยด์และภาวะภูมิต้านทานร่างกายลดลง 9. โรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือโรคเส้นเลือดในสมองแตกจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งรายงานฉบับนี้มีความสำคัญมากต่อประเทศไทย เพราะโรคมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ เป็นโรคมะเร็งที่ชายไทยเป็นมากที่สุด ในขณะที่เบาหวานและวัณโรคก็เป็นโรคที่คนไทยเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นผลมากจากการสูบบุหรี่ของชายไทยที่สูงขึ้น งานนี้นอกจากผู้สูบบุหรี่ต้องรักษาสุขภาพของตัวเองแล้ว งานควบคุมยาสูบในประเทศไทยก็ยังต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมทั้งรัฐบาลอย่างจริงจังในการควบคุมด้วย

  • วัตถุประสงค์ของวันงดสูบบุหรี่โลก

    วัตถุประสงค์ของวันงดสูบบุหรี่โลก

    วัตถุประสงค์ของวันงดสูบบุหรี่โลก วันงดสูบบุหรี่โลกนั้นจะจัดขึ้นทุกปีในวันที่ 31 พฤษภาคม เนื่องจากองค์การอนามัยโลกเล็งเห็นถึงอันตรายของการสูบบุหรี่และสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ด้วย รวมไปถึงผู้ที่รับควันบุหรี่มือสองทั้งหลาย การประกาศวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่ยังสูบบุหรี่อยู่ได้เลิกเสีย และให้รัฐบาลของแต่ละประเทศรวมไปถึงประชาชนทั้งโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลิกสูบบุหรี่ไปพร้อม ๆ กันด้วย ซึ่งรัฐบาลไทยเองก็ได้ตระหนักถึงความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยนานาชนิดจากบุหรี่ จึงได้รณรงค์ให้ประชากรไทยเลิกสูบบุหรี่โดยได้มีการพิมพ์คำเตือนและโทษของการสูบบุหรี่ที่ข้างซองมานานแล้ว รวมไปถึงยังมีกฎหมายที่คุ้มครองสุขภาพของประชาชนด้วยได้แก่ – ให้เขตปลอดบุหรี่ที่แท้จริงคือ รถยนต์โดยสารประจำทาง ทั้งแบบแอร์และแบบธรรมดา แท็กซี่ทุกชนิด ตู้รถไฟปรับอากาศ โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า และสถานที่สาธารณะ รวมไปถึงโรงเรียน มหาวิทยาลัย ห้องสมุด สถานพยาบาล ศูนย์การค้า สถานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งหากจะสูบต้องสูบในที่ที่จัดไว้เฉพาะในเขตสูบบุหรี่เท่านั้น – กำหนดให้เขตปลอดบุหรี่มีพื้นที่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของพื้นที่นั้น ๆ เช่น ภายในตู้รถไฟทั่วไปที่ไม่ใช่แบบแอร์ หรือร้านอาหารทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณที่ติดแอร์ พื้นที่สูบบุหรี่ต้องมีพื้นที่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด – ห้ามจำหน่ายบุหรี่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุก 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท รวมถึงห้ามขายสินค้าอื่นและแถมบุหรี่ให้ หรือขายบุหรี่ให้แล้วแถมสินค้าอื่น และห้ามโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วย  

  • ยิ่งสูบบุหรี่ยิ่งเพื่อความเสี่ยงติดเชื้อวัณโรคได้มากเท่านั้น

    ยิ่งสูบบุหรี่ยิ่งเพื่อความเสี่ยงติดเชื้อวัณโรคได้มากเท่านั้น

    ยิ่งสูบบุหรี่ยิ่งเพื่อความเสี่ยงติดเชื้อวัณโรคได้มากเท่านั้น การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแทบทั่วทั้งร่างกาย โดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ ปอด กล่องเสียง ทำให้เกิดมะเร็งได้แทบทุกส่วนดังกล่าว เรื่องไปจนถึงมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะและมะเร็งในระบบอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ก็ยังเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อวัณโรคได้อีกด้วย เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เม็ดเลือดขาวตายเพิ่มขึ้น ร่างกายจึงมีภูมิต้านทานลดลง อีกทั้งสารพิษจากควันบุหรี่จะทำลายเนื้อปอด การขจัดเชื้อโรคของเยื่อบุหลอดลมและปอดอ่อนแอ หากผู้สูบบุหรี่ได้รับเชื้อวัณโรคที่อาจปลิวปะปนในอากาศก็อาจติดเชื้อจนกลายเป็นวัณโรคได้ แม้จะเป็นผู้ที่เคยสูบบุหรี่และเลิกสูบแล้วก็ตาม ก็ยังพบว่าติดเชื้อวัณโรคได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่เคยสูบเลยอยู่ดี ยิ่งเคยสูบมานานเท่าไรก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากเท่านั้น พบว่าผู้ที่เสียชีวิตจากวัณโรคเป็นผู้ที่เคยสูบบุหรี่ แม้แต่เด็กเล็กที่อยู่ในบ้านที่มีผู้สูบบุหรี่ก็อัตราความเสี่ยงที่จะติดเชื้อวัณโรคมากกว่าเด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมทั่วไปด้วย ในส่วนของผู้ป่วยวัณโรคนั้น หากหยุดสูบบุหรี่ ก็จะช่วยให้ร่างกายตอบสนองการรักษาทางการแพทย์ได้ดีขึ้น โรคจะหายเร็วขึ้น อาการไอจะลดลงอย่างรวดเร็ว อัตราการแพร่เชื้อสู่คนใกล้ชิดก็จะพลอยลดลง เนื้อปอดที่ถูกทำลายจากเชื้อวัณโรคจะลดน้อยลง โรคจึงหายเร็วและเป็นปกติได้ในเร็ววัน ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้เป็นวัณโรคแต่อยากเลิกบุหรี่นั้น ก็ขอให้ทำใจให้เข้มแข็ง แล้วเลิกให้หมดก่อนที่ร่างกายจะเสื่อมสภาพ อีกทั้งยังควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ทานผักผลไม้ให้มากกว่าเนื้อสัตว์และของมัน ๆ งดเหล้า หรือเข้าร่วมวงที่มีคนสูบบุหรี่ด้วย แล้วปอดท่านจะแข็งแรงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะค่ะ

  • แม้จะเป็นการสูบบุหรี่อย่างฉลาดแต่ก็ทำลายสุขภาพอยู่ดี

    แม้จะเป็นการสูบบุหรี่อย่างฉลาดแต่ก็ทำลายสุขภาพอยู่ดี

    แม้จะเป็นการสูบบุหรี่อย่างฉลาดแต่ก็ทำลายสุขภาพอยู่ดี ก่อนที่จะไปพูดถึงเรื่องของการสูบบุหรี่ เราควรมาทำความเข้าใจกันถึง เรื่องของระบบการหายใจของเราก่อนดีกว่า ทางเดินหายใจส่วนบนนั้นประกอบไปด้วยส่วนของ จมูก โพรงอากาศข้างจมูกและคอหอย ส่วนทางเดินหายใจส่วนล่างนั้นประกอบไปด้วย กลอ่งเสียง หลอดลมใหญ่ในคอ หลอดลมที่มีขนาดลดหลั่นกันลงมา และถุงลม เวลาที่เราหายใจเข้าไปตามปกติจะมีอาการเข้าประมาณประมาณร้อยละ 70 สู่ถุงลมเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซ ส่วนอีกร้อยละ 30 ที่เหลือจะอยู่ในหลอดลม ทั้งควันและฝุ่นละอองต่าง ๆ ที่หายใจเข้าไปจะอยู่ในบริเวณหลอดลม ซึ่งจะขับสิ่งที่คั่งค้างออกโดยมีเมือกและขนเล็ก ๆ ดักจับเอาไว้ หากมีมากก็จะไอออกมาเป็นเสมหะ ซึ่งควันและฝุ่นละอองบางอย่างอาจตกค้างอยู่ในหลอดลมฝอยทำให้เกิดการอักเสบอ่อนเรื้อรัง ต่อมมูกก็จะโตขึ้นและหลั่งมูกมากขึ้น ทำให้หายใจไม่สะดวก เรียกว่าภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจเรื้อรัง ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซมีปัญหา จนเกิดภาวการณ์หายใจล้มเหลวได้ คนที่สูบบุหรี่ทั้งหมดจะหายใจออกจนสุดแล้วจึงเริ่มสูดควันที่มีอากาศปนอยู่เข้าไปในหลอดลมอย่างทั่วถึง ยิ่งสูดลึกก็ยิ่งอันตรายได้มาก ยิ่งกลั้นไว้แล้วค่อย ๆ ระบายออกช้า ๆ ควันบุหรี่จะจับผนังหลอดลมนานขึ้นด้วย ซึ่งเทคนิคการสูบบุหรี่อย่างฉลาดก็คือการหายใจเข้าตามปกติแล้วค่อยสูบบุหรี่ วิธีนี้จะทำให้อากาศดีเข้าไปบรรจุอยู่ในปอดและหลอดลมฝอยจนเต็มเหลือที่ไว้ในหลอดลมใหญ่ เมื่อสูดควันเข้าไปจะกระจายไม่ทั่วปอด และจะหายใจออกมาตามปกติทันที จึงทำให้ที่ควันจะอยู่ในหลอดลมสั้นลม นอกจากนี้แล้วยังควรปฏิบัติตามนี้ด้วยได้แก่ – ไม่ควรสูบบุหรี่ในที่อับ เช่น ห้องน้ำ ห้องน้ำ หรือที่มีอาการถ่ายเทก็ตาม ควรสูบในที่โล่งแจ้งเท่านั้น – อย่าสุบบุหรี่เพราะแก้เบื่อ หรือเหงาปากหรือเคยชิน ควรหัดยืดเวลาออกไปเล็กน้อยเรื่อย…

  • รณรงค์สร้างครอบครัวไร้ควันบุหรี่

    รณรงค์สร้างครอบครัวไร้ควันบุหรี่

    รณรงค์สร้างครอบครัวไร้ควันบุหรี่ มีผลการวิจัยพบว่า เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีผู้ปกครองหรือคนในบ้านสูบบุหรี่นั้น กว่าร้อยละ 40 เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นคนที่สูบบุหรี่ด้วย ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้เด็กสูบบุหรี่ก็คือ ผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องเลิกบุหรี่ให้ได้ก่อน เด็กจึงจะทำตาม นอกจากนี้แล้วยังควรสอดส่องคนอื่นไม่ให้มาสูบบุหรี่ในสนามเด็กเล่น โรงเรียน ศูนย์เลี้ยงเด็ก รวมไปถึงสถานที่ปลอดควันบุหรี่อื่น ๆ อีกทั้งยังไม่ควรพาเด็กเข้าไปในสถานที่ที่มีการอนุญาตให้สูบบุหรี่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร หรือสถานที่ใด ๆ หากลูกๆ เริ่มไปสูบบุหรี่เข้าแล้ว อยากช่วยให้เข้าเลิกก็ต้องมาทำความเข้าใจร่วมกันคือ 1. ชวนลูกคุยทำความเข้าใจถึงผลร้ายของการสูบบุหรี่ อีกทั้งการสูบบุหรี่ก่อนอายุ 18 ปีนั้นก็เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายด้วย 2. ดูแลและให้เวลาลูกอย่างใกล้ชิด ให้ความสนิทสนมเปิดโอกาสให้ปรึกษาได้ทุกเรื่อง และควรเปิดโอกาสให้ลูกได้รับรู้ถึงปัญหาและผลร้ายของยาเสพติด เลือกใช้ภาษาที่ดี ไม่ใช่การตำหนิหรือดุด่า 3. จับตาดูบ้างว่าเพื่อนในกลุ่มของลูกใช้สารเสพติดหรือไม่ 4. สร้างค่านิยมที่ดีให้กับลูก และสอนลูกว่าการสูบบุหรี่ไม่ใช่เรื่องของคนเท่ แต่เป็นเรื่องน่ารังเกียจ 5. สร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น จะพัฒนาความรักความอบอุ่นในครอบครัว ระหว่างพ่อแม่และลูก การมีครอบครัวเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจจะช่วยให้เด็ก ๆ ห่างไกลยาเสพติดได้อย่างแน่นอนค่ะ หากในวันนี้มีสมาชิกในครอบครัวยังสูบบุหรี่อยู่ ควรพากันเลิกเถอะค่ะ เพื่อโลกที่สดใส ไร้ควันพิษ เพื่อชีวิตของคนที่เรารักทุกคนด้วยค่ะ  

  • โรคถุงลมโป่งพอง เป็นได้ก็สุขได้

    โรคถุงลมโป่งพอง เป็นได้ก็สุขได้

    โรคถุงลมโป่งพอง เป็นได้ก็สุขได้ แม้ว่าโรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้น จะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีอาการทุเลาลง หรือกำเริบน้อยลงไม่ได้ เพราะจุดเริ่มต้นของโรคนี้เกิดจากการสูบบุหรี่มานาน จึงระคายเคืองเยื่อบุผิวของหลอดลมจนอักเสบ หากเป็นแล้วเราก็ต้องจัดการดูแลสุขภาพของเราให้ดี ด้วยการปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้ 1. หยุดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เพราะนี่คือต้นเหตุของโรค รวมทั้งหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีควันหรือไอสารเคมีที่สร้างความระคายเคืองต่อปอดและหลอดลม เพราะผู้ป่วยโรคนี้จะมีความไวต่อสารกระตุ้นเหล่านี้มาก ทำให้หลอดลมตีบเฉียบพลันได้ 2. อาหารประเภทแป้งให้พลังงานน้อยกว่าไขมัน แต่จะได้คาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาผลาญมากกว่า ทำให้ระบบการหายใจต้องทำงานหนักขึ้น ควรทานไขมันที่ดีมีคอเลสเตอรอลต่ำ มีไขมันอิ่มตัวต่ำได้แก่ ปลาที่มีกรดไขมันโอเม้าสาม ช่วยต้านการอักเสบ น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก และโปรตีนคุณภาพสูงอย่างเนื้อปลา ไข่ขาว เนื้อไก่ เป็ด หมูไม่ติดหนังหรือมัน อีกทั้งควรทานผักหลากสีเพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่ครบถ้วน แถมยังได้สารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันเซลล์ของร่างกายอีกด้วย 3. ดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียง เพราะน้ำจะทำให้เสมหะเหลวขึ้น ควรดื่มอย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน เลี่ยงเครื่องดื่มหวาน ๆ ผสมน้ำตาล ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุดแล้วยังทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย 4. ออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายกล้ามเนื้อทุกส่วน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ช่วยหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อของคอ ไหล่ รอบสะบัก หน้าอก แล้วต่อด้วยกายบริหารกล้ามเนื้อคอ ไหล่…

  • หลังทานอาหารอิ่ม ๆ อย่าทำแบบนี้!!!

    หลังทานอาหารอิ่ม ๆ อย่าทำแบบนี้!!!

    หลังทานอาหารอิ่ม ๆ อย่าทำแบบนี้!!! 1. อย่าเพิ่งสูบบุหรี่ เพราะจากการทดลองพบว่าการสูบบุหรี่หลังอาหารนั้น เท่ากับการสูบบุหรี่ยามปกติถึงสิบมวนเลยทีเดียว ดังนั้นโอกาสการเป็นมะเร็งจึงสูงขึ้น 2. อย่าเพิ่งทานผลไม้หลังอาหาร ให้ทานในช่วงเวลาหลังอาหารไปแล้ว 1-2 ชั่วโมงจะดีกว่า 3. อย่าเพิ่งดื่มน้ำชา เพราะใบชามีความเป็นกรดสูง จึงทำให้โปรตีนในอาหารกระด้างขึ้น จึงย่อยยาก 4. หลังอิ่มใหม่ ๆ อย่าเพิ่งขยายเข็มขัด เพราะจะทำให้ลำไส้ขยับตัวไม่ปกติ และทำให้ลำไส้ทำงานไม่ปกติได้ด้วย 5. หลังการอิ่มข้าว อย่าเพิ่งอาบน้ำ เพราะเลือดจะไหลเวียนไปที่มือและเท้า จึงทำให้เลือดบริเวณท้องไหลเวียนไม่ดี จึงส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีด้วย 6. หลังทานอาหาร อย่าเพิ่งเดินทันทีตามที่เคยเชื่อกันมา เพราะนั่นจะทำให้การย่อยเพื่อดูดซึมไม่ดีเท่าที่ควร ควรรออย่างน้อยสักครึ่งชั่วโมงดีกว่า 7. อย่าเพิ่งนอนทันที เพราะอาจทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เพราะอาหารย่อยไม่เต็มที่ได้ อีกอย่างจะทำให้อ้วนด้วยนะคะ  

  • รู้ทั้งรู้.. แต่เธอก็จะสูบต่อไป

    รู้ทั้งรู้.. แต่เธอก็จะสูบต่อไป

    รู้ทั้งรู้.. แต่เธอก็จะสูบต่อไป จากรายงานของสำนักข่าวซั่งไห่ เดลี่ ชี้ว่าหญิงสาวชาวเซี่ยงไฮ้นั้นสูบบุหรี่มากขึ้น เพราะต้องการหนีความเศร้า ความกดดันและสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม จากรายงานภายในที่ประชุมหน่วยโรคมะเร็งปอดนานาชาติแห่งมหานครเซี่ยงไฮ้ เผยว่ามีหญิงเซี่ยงไฮ้ร้อยละ 3.7 ที่สูบบุหรี่แต่ขณะนี้ตัวเลขพุ่งทะยานขึ้นไปเป็นร้อยละ 4.8 แล้ว  โดยผู้สันทันกรณีเผยว่าต้นเหตุมาจากการทำงานหนัก  ความต้องการความตื่นเต้น  อยากสนุกสนาน อยากได้การยอมรับจากเพื่อนฝูงและคนรอบข้าง  พวกเธอจึงสูบบุหรี่มากขึ้น ดังเช่น  ลู่ จยาเฉิน พนักงานโรงแรม วัย 25 ปี บอกว่าเธอสูบบุหรี่ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ตอนอายุได้ 18 ปี  วันที่เริ่มต้นวันนั้นรู้สึกหงุดหงิดเพราะทะเลาะกับแฟน และเพื่อนร่วมหอพักก็ยืนบุหรี่ให้ บอกว่ามันจะทำให้รู้สึกดีขึ้น ไม่ต่างจากหญิงคนอื่นที่สูบบุหรี่มวนแรกเพื่อลดอารมณ์ด้านลบของตัวเอง  บางส่วนสูบเพราะรู้สึกเปล่าเปลี่ยวหรือศร้าใจ  ซึ่งทั้งหมดล้วนกลายสภาพจากการสูบเพื่อพักผ่อนสบายใจ เป็นการเสพติดอย่างถอนตัวไม่ได้ อีกรายหนึ่ง หยวน อิน วัย 30 ปี  ทำงานด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์ เธอสูบบุหรี่เพื่อว่านี่คือความ “เก๋ไก๋” และบอกว่าการสูบบุหรี่เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับการเข้าสังคม แล้วยังบอกอีกด้วยความ จะเห็นผู้หญิงมากมายที่สูบบุหรี่ในบาร์มากกว่าบนท้องถนน  และการที่สูบบุหรี่ก็เพราะอิทธิพลของคนรอบข้างที่เข้าไปคลุกคลีด้วย ซึ่งจากรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของเซี่ยงไฮ้เมื่อไม่นานมานี้เปิดเผยว่า โรคมะเร็งปอดกลายเป็นโรคมะเร็งที่ผลาญชีวิตของผู้หญิงมากเป็นอันดับสามแล้ว  เพราะลักษณะทางกายภาพของเพศหญิงนั้นอ่อนไหวต่อนิโคตินและสารอื่น ๆ ที่ผลิตออกมาจากบุหรี่มากกว่าผู้ชาย  หญิงสาวที่สูบบุหรี่ทั้งหลายจึงควรตรวจร่างกายทุก…

  • แพทย์ชี้ การสูบบุหรี่มาก อาจทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์

    แพทย์ชี้ การสูบบุหรี่มาก อาจทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์

    แพทย์ชี้ การสูบบุหรี่มาก อาจทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ รายงานวิจัยชิ้นล่าสุดของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์ Houston ที่ University of Texas ชี้ว่าการสูบบุหรี่อาจมีผลกระทบต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว หรืออาจทำให้อาการของโรคอัลไซเมอร์แย่ลง การศึกษาที่ว่านี้ทำกับหนูทดลอง แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าผลที่ได้สามารถนำมาปรับใช้กับมนุษย์ได้ โดยเฉพาะการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์คือรูปแบบหนึ่งของอาการความจำเสื่อมซึ่งมักจะเกิดกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคนที่อายุเกิน 70 ปีขึ้นไป อาการของโรคนอกจากจะเกิดอาการสูญเสียความทรงจำแล้วยังสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์ยังไม่มีทางรักษา ศาสตราจารย์ Claudio Soto แห่งภาควิชาประสาทวิทยา University of Texas อธิบายว่าคณะนักวิจัยได้แยกหนูทดลองที่มีโรคอัลไซเมอร์แบบเดียวกับมนุษย์เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้สูดดมควันแบบเดียวกับที่ผู้สูบบุหรี่ปล่อยออกมาลักษณะเดียวกับ Second-hand Smoker ส่วนกลุ่มที่ 2 ปล่อยให้ได้รับควันบุหรี่โดยตรงในปริมาณเท่ากับคนสูบบุหรี่ 1-2 มวนต่อวัน แล้วนำผลการวิจัยที่ได้ไปเปรียบเทียบกับหนูทดลองที่ไม่ได้สูดดมควันบุหรี่เลย หนูที่สูดดมควันบุหรี่มีสัญญาณของโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น เห็นได้จากสมองบางส่วนเริ่มถูกทำลายและยังพบคราบแบคทีเรียในสองของหนูทดลองซึ่งมีลักษณะคล้ายกับที่พบในสมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ด้วย   ศาสตราจารย์ Soto ชี้ว่าโรคอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่ที่เกิดกับผู้สูงอายุนั้นมักจะเกิดขึ้นอย่างกระจัดกระจาย หมายความว่าไม่มีปัจจัยเรื่องของพันธุกรรมมาเกี่ยวข้อง ดังนั้นสิ่งที่พอจะบ่งบอกได้ว่าเป็นสาเหตุของโรคคือวัยที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเช่นควันบุหรี่ ดังนั้นคำแนะนำของนักวิจัยเรื่องนี้ก็คือควรเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด ซึ่งเชื่อว่าน่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้  

  • นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า การสูบบุหรี่แต่เช้า จะมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายสูง

    นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า การสูบบุหรี่แต่เช้า จะมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายสูง

    นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า การสูบบุหรี่แต่เช้า จะมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายสูง บุหรี่มีผลเสียต่อสุขภาพแต่ผลการวิจัยชิ้นใหม่ชี้ว่ายิ่งสูบบุหรี่แต่เช้า ผลเสียต่อสุขภาพจะยิ่งรุนแรงขึ้น องค์การอนามัยโลกรายงานว่าบุหรี่ยังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคร้ายต่างๆ แม้ว่าจะสามารถป้องกันได้ก็ตาม ทางองค์การอนามัยโลกประมาณว่ามีคนเสียชีวิตจากโรคต่างๆจากการบุหรี่ถึงปีละหกล้านรายทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศรายได้ปานกลางและรายได้น้อย นักวิจัยกล่าวว่า การวิจัยถึงช่วงเวลาของแต่ละวันที่คุณจุดบุหรี่มวนเเรกขึ้นสูบ เป็นตัวช่วยวัดความเสี่ยงของการเกิดโรคจากบุหรี่ได้ หากคุณจุดบุหรี่ขึ้นสูบทันทีหลังจากตื่นนอนก็แสดงว่าคุณติดสารนิโคตินอย่างมาก นิสัยการสูบบุหรี่ตั้งแต่เช้านี้เป็นตัวชี้ที่ดีถึงระดับความสาหัสของการติดบุหรี่ของแต่ละคน วัดได้ดีกว่าการนับจำนวนบุหรี่ที่สูบทั้งหมดในแต่ละวันเสียอีก สารเคมี NNK ตัวนี้ก่อให้เกิดมะเร็งได้ หลังจากที่ร่างกายดูดซึมสารเคมีนี้เข้าไป จะกลายสภาพเป็นสาร NNAL นักวิจัยพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่ทันทีหลังตื่นนอนตอนเช้าจะมีระดับของสารตัวนี้สูงมาก หากมีสารเคมีตัวนี้ในร่างกายปริมาณสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งแต่ทีมนักวิจัยยังไม่รู้ว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากแค่ไหนหรือมีวิธีลดความเสี่ยงนี้หรือไม่ เขากล่าวว่าทีมงานยังอยู่ในช่วงต้นของการศึกษาวิจัย แต่พวกเขาพบว่าหากพบสารเคมี NNAL ในปัสสาวะ ก็แสดงว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากขึ้น ผลการศึกษานี้มาจากการประมวลข้อมูลจากการศึกษาผู้สูบบุหรี่สองพันคน ราวสามสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้สูบบุหรี่เหล่านี้บอกว่าเริ่มสูบบุหรี่มวนแรกของวันในช่วงห้านาทีหลังตื่นนอน อีก 30 เปอร์เซ็นต์บอกว่าสูบบุหรี่มวนแรกภายในช่วง 6 ถึง 30 นาทีหลังจากตื่นนอน