วัณโรค

หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง

โพสเมื่อ : 16 June 2014 | No Comments

หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ในระยะที่อากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มมีฝนตกมากขึ้น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายค่อนข้างต่ำ หรือสุขภาพอ่อนแอเพราะปรับตัวไม่ทัน จึงเจ็บป่วยได่ง่าย ยิ่งโดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางลมหายใจจำพวกโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อกันได้ง่ายนั้น เราจึงยิ่งจำเป็นต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมในการป้องกันโรคติดต่อเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งมีวิธีการดูแลตัวเองง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ – เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มป่วย เริ่มเป็นไข้ ไม่สบายรู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่พอ ยิ่งไม่ควรเข้าไปเสี่ยงในแหล่งชุมชนที่มีคนอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นตลาด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เพราะว่าร่างกายในช่วงที่มีภูมิต้านทานต่ำจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย – หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือหากไม่สะดวกในการล้างมือจะใช้เจลแอลกอฮอล์มาเช็ดก็ได้ ช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ

โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

โพสเมื่อ : 22 April 2014 | No Comments

โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน วัณโรค (Tuberculosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) หรือคนส่วนใหญ่เรียกสั้นๆว่า TB เชื้อวัณโรคนี้จะชอบอยู่ในที่ๆมีออกซิเจนมาก เช่น ในปอด เชื้อวัณโรคจะติดต่อได้ง่ายจากคน ผ่านไปทางละอองเสมหะ หรือการจาม เชื้อวัณโรคที่ตกลงสู่พื้นหรือติดอยู่กับผิวสัมผัสของวัตถุอื่นๆ จะถูกทำลายไปโดยง่ายโดยแสงสว่างและอากาศที่ถ่ายเทสะดวก วัณโรคแพร่ได้ด้วยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น อยู่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน การที่ผู้ป่วยภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ เช่น เบาหวาน ติดเชื้อเอชไอวี หรือได้รับยากดภูมิต้านทาน เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง หรือยาลูกกลอนที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ จะทำให้มีโอกาสเป็นวัณโรคได้ง่าย  เชื้อนี้จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการไอติดต่อกันเป็นเวลานานและเกิดแผลในปวดจนทำให้เสียชีวิตได้ การติดเชื้อวัณโรคระยะโรคสงบและระยะป่วยเป็นโรค

นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพและโรคร้อน พบว่า ทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งกำเนิดของวัณโรค

โพสเมื่อ : 5 January 2014 | No Comments

นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพและโรคร้อน พบว่า ทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งกำเนิดของวัณโรค การศึกษาชิ้นล่าสุดเปิดเผยว่ามนุษย์กับเชื้อวัณโรคกำเนิดและวิวัฒนาการมาพร้อมๆกันในทวีปแอฟริกา ทีมนักวิจัยที่สถาบันสุขภาพและโรคเขตร้อนแห่งสวิสเซอร์เเลนด์ (Swiss Tropical and Public Health Institute) นำโดยศาสตราจารย์เซบ้าสเตียน แก็กโน ค้นพบว่าเชื้อวัณโรคกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริกาอย่างน้อยเมื่อ 70,000 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์แก็กโนอธิบายว่าทำไมทีมวิจัยต้องการศึกษาประวัติของเชื้อวัณโรค วิวัฒนาการของมนุษย์กับวิวัฒนาการของเชื้อวัณโรคตั้งแต่ในอดีต ไม่แค่เกิดขึ้นพร้อมๆกันแต่น่าจะพูดได้ว่าเกิดขึ้นพร้อมๆกันภายในร่างกายของมนุษย์เพราะเชื้อเเบคทีเรียอาศัยทั้งบนร่างกายคนและภายในร่างกายคน แบคทีเรียช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ ทีมนักวิจัยกำลังพยายามศึกษาว่าเชื้อวัณโรคมีอันตรายต่อมนุษย์มาตั้งแต่ในอดีตหรือไม่ ระยะเวลาที่เชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกายคนโดยไม่ทำให้เกิดอาการป่วยนี้อาจจะยาวนานหลายสิบปีและคนส่วนใหญ่ที่มีเชื้อวัณโรคในร่างกายอยู่ในขณะนี้อาจจะไม่ป่วยด้วยโรคนี้ในอนาคต  น่าสนใจว่าทำไมกลุ่มคนห้าถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อวัณโรคจึงเเสดง อาการป่วย ผู้เชี่ยวชาญรู้ดีว่ามีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นเกี่ยวข้องด้วย อาทิ ผู้ติดเชื้อป่วยด้วยโรคเอดส์หรืออาจมีภาวะขาดอาหารร่วมด้วย นอกจากนี้โรคเบาหวานก็เป็นปัจจัยหนึ่งด้วยที่เพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ที่มีเชื้อวัณโรคในร่างกายเเสดงอาการป่วย ทำให้นักวิจัยเกิดความสงสัยว่าการติดเชื้อวัณโรคแบบไม่ก่อให้เกิดโรคอาจจะมีคุณต่อร่างกายคนเราเพราะอาจจะช่วยปกป้องร่างกายจากโรคติดต่อชนิดอื่นๆได้

องค์การอนามัยโลก ออกแนวทางป้องกัน เพื่อลดเด็กที่เสียชีวิตจากวัณโรค

โพสเมื่อ : 4 January 2014 | No Comments

องค์การอนามัยโลก ออกแนวทางป้องกัน เพื่อลดเด็กที่เสียชีวิตจากวัณโรค ทุกวันนี้ วัณโรค ได้คร่าชีวิตเด็กทั่วโลกไปมากกว่า 74,000  คนต่อทุกปี แต่เชื่อหรือไม่ว่า การเสียชีวิตของเด็กจากโรควัณโรค สามารถที่จะป้องกันได้ องค์การอนามัยโลก และองค์การการกุศลหลายหน่วยงาน ได้ออกมาช่วยกันร่วมสร้างแนวทางการป้องกัน รักษา และตั้งเป้าหมายว่าจะลดให้เหลือศูนย์ แนวทางป้องกันและลดการเสียชีวิตของเด็กจากวัณโรคดังกล่าวนี้ ชี้ว่าไม่ควรประเมินความเร่งด่วนของปัญหาการติดต่อวัณโรคในเด็กในปัจจุบันต่ำเกินไป ทุกปีทุกปี ประมาณว่ามีเด็กจำนวนห้าแสนคนติดเชื้อวัณโรค นี่เป็นผู้ติดเชื้อเด็กรายใหม่ แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าจำนวนเด็กที่ติดเชื้อวัณโรคจริงๆ อาจจะสูงกว่านี้อย่างมากเนื่องจากความยากลำบากในการวินิจฉัยวัณโรค นายราวิกลิโอนี่ แห่งองค์การอนามัยโลกกล่าวว่าอาการของวัณโรคในเด็กต่างจากอาการของโรคในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีไข้ ไอ เหงื่อออกในตอนกลางคืน น้ำหนักตัวลดและอื่นๆ แต่ในผู้ป่วยเด็ก จะมีอาการที่ไม่ชัดเจน ทำให้หากไม่สังเกตุและไม่ติดตาม

หน้า 2 ทั้งหมด 2 หน้า12