8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยว่าหากที่ต้องการเข้ารับการขูดหินปูน เป็นผู้ป่วยด้วยโรค 8 โรคนี้จำเป็นต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนทุกครั้งก่อนรับการทำฟันหรือขูดหินปูนก็คือ กลุ่มที่เป็นโรคเลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก ได้แก่ 1. โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคลูคีเมีย อาจมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกายร่วมด้วย 2. โรคไตและผู้ที่มีประวัติเคยล้างไต เพราะจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด 3. ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการใช้ยาละลายลิ่มเลือด รวมไปถึงกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่อาจแสดงอาการในระหว่างการทำฟัน ได้แก่ 1. โรคหัวใจอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ใจสั่น 2. โรคหอบหืดอาจมีอาการหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่นประจำ และได้รับยา Steriod 3. โรคลมชักและโรคความดันโลหิตสูง 4. โรคเบาหวานเพราะมีผลกระทบทำให้แผลหายยาก เหล่านี้จำเป็นต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนเผื่อในกรณีที่อาการกำเริบจะได้ช่วยเหลือได้ทันการณ์ อีกทั้ง ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย ยังเปิดเผยอีกว่าการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายนี้ก็เพื่อป้องกันอาการเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ ด้วยการใช้เครื่องมือขจัดหินปูนที่มีความสั่นสะเทือนทำให้หินปูนหลุดออกมา แล้วใช้เครื่องมือชิ้นเล็กกว่าขูดหินปูนละเอียดอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้อาจทำให้มีเลือดออกได้บ้างเล็กน้อย แต่จะไม่มากจนมีผลใด ๆ ต่อสุขภาพผู้ป่วย ซึ่งหินปูนหรือหินน้ำลายนี้เป็นคราบจุลินทรีย์ที่มีการสะสมของแคลเซียมในน้ำลาย จนแข็งตัวคล้ายหินปูน ที่สะสมเชื้อโรคไว้หลายชนิดอีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตสารพิษที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้…
-
-
ยา aleglitazar ที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานนั้น ไม่ได้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ นักวิจัยได้ศึกษาเรื่องตัวยา aleglitazar ซึ่งเป็นยาที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในร่างกายนั้น ไม่ได้ส่งผลให้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลว หรือการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองในกลุ่มคนไข้โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผู้ที่เพิ่งมีอาการหัวใจล้มเหลว หรืออาการปวดเค้นหัวใจอยู่เรื่อยๆได้ ปัจจุบัน โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจนั้นยังคงเป็นสาเหตุหลักของการตายในกลุ่มคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่ ซึ่งไม่มีการรักษาด้วยยาที่ส่งผลต่อเบาหวาน หรือการควบคุมระดับกลูโคสอย่างเข้มงวดใดที่แสดงให้เห็นว่าจะสามารถลดความยุ่งยากของหัวใจหรือหลอดเลือดของหัวใจในกลุ่มคนไข้ดังกล่าวได้เลย โดยในการลดลองระยะที่ 2 นั้น aleglitazar สามารถลดระดับกลูโคสในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ LCL และเพิ่มระดับของ HDL ให้สูงขึ้นได้ แพทย์และนักวิทยาศาสต์ก็ได้มีการทดลองเรื่องนี้กับผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยการสุ่มให้ยา aleglitazar และการให้ยาหลอก โดยใช้เวลาประมาณ 104 สัปดาห์ พบว่า ไม่ได้ผล นักวิทยาศาสตร์พบว่าถึงแม้ aleglitazar นั้นจะลดระดับกลูโคสในเลือดและทำให้ระดับของ HDC และไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นก็ตาม ตัวยาดังกล่าวนั้นไม่ได้ลดเวลาของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ อาการหัวใจล้มเหลว หรือการที่เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตันแต่อย่างใด ซึ่งเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นในคนไข้จำนวนที่ได้รับยา aleglitazar 344 ราย (9.5%) และ 360 ราย…
-
การผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหาร ช่วยลดน้ำหนักและแก้อาการเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ การผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนักเริ่มได้รับความนิยมในสหรัฐมานานราวสิบปีแล้ว การผ่าตัดดังกล่าวช่วยผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากลดน้ำหนักลงได้ ผู้ป่วยสามารถกลับไปมีรูปร่างที่อยู่ในระดับมาตราฐาน คุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น ผู้ป่วยบางคนพบว่าหลังการผ่าตัด พวกเขาปลอดจากโรคเบาหวานประเภทที่สอง แต่มีคำถามว่าการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนักปลอดภัยแค่ไหน หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยบางคนติดเชื้อและอาการเส้นเลือดขอดที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ในอดีตการผ่าตัดนี้มีเฉพาะในโรงพยาบาลบางแห่งที่เรียกว่า centers for excellence ที่บริการผู้ป่วยในโครงการสุขภาพที่รัฐบาลสหรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่าย โรงพยาบาลเหล่านี้เคยถูกกำหนดให้ทำการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนักแก่ผู้ป่วยอย่างน้อยปีละ 125 ราย ด็อกเตอร์เซ็งกีต้า คาชอ็อพ แห่ง Cleveland Clinic เป็นหัวหน้าทีมนักวิจัยชุดที่สองที่ทำการศึกษาประเด็นนี้ ด็อกเตอร์คาชอ็อพกล่าวว่าการศึกษาพบว่าการการผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหารช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนทำงานไ้ด้เป็นปกติอีกครั้ง และยังพบว่าอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ตับอ่อนสามารถทำงานได้เป็นปกติก่อนหน้าที่ผู้ป่วยจะลดน้ำหนักตัวที่เกินได้ทั้งหมดเสียอีก ด็อกเตอร์คาชอ็อพกล่าวว่าสาเหตุน่าจะมาจากการผ่าตัดไม่ให้อาหารที่รับประทานเข้าไปในลำใส้เล็กและฮอร์โมนต่างๆที่ผลิตออกมา ทีมวิจัยพบว่าผู้ป่วยสามารถลดน้ำหนักตัวลงได้เพราะการผ่าตัดบายพาสลำใส้ แต่นักวิจัยจำเป็นต้องศึกษาว่าทำไมผู้ป่วยบางคนจึงหายขาดจากโรคเบาหวานหลังการผ่าตัด เพื่อช่วยในการวินิจฉัยล่วงหน้าว่าใครจะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการผ่าตัดและเพื่อศึกษาดูว่าเป็นไปได้แค่ไหนที่วันหนึ่งในอนาคตการผ่าตัดแบบนี้จะสามารถนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
-
เนื้อแดง รับประทานมาก เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน Harvard ทำวัจัยต่อเนื่องและพบว่า ในกลุ่มตัวอย่าง การรับประทานเนื้อสัตว์ใหญ่น้อยลงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 14% ส่วนผู้ที่เพิ่มการทานเนื้อแดงเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมากขึ้น 48% การศึกษาชิ้นนี้อาศัยข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกือบ 150,000 คน และใช้เวลาเก็บข้อมูลสี่ปี ทีมนักวิจัยจาก National University of Singapore ร่วมทำการศึกษาร่วมกับ Harvard อย่างไรก็ตามมีผู้แย้งว่า อันที่จริงเนื้อแดงไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะส่วนที่แดงของเนื้อ แต่เป็นเพราะไขมันอิ่มตัวที่พบมากในเนื้อสัตว์ใหญ่ ความแดงของเนื้อจึงไม่ได้เกี่ยวพันกับอันตรายต่อสุขภาพโดยตรง การที่สีเนื้อสัตว์ใหญ่เป็นสีแดงเพราะโปรตีนที่ชื่อว่า Myphglobin ที่ทำหน้าที่ส่งธาตุเหล็กและออกซิเจนไปทั่วร่างกาย ด้านผู้วิจัยจาก Harvard กล่าวว่า โรคเบาหวานมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยที่ไม่ได้ถูกระบุไว้ ซึ่งไขมันก็เป็นหนึ่งในนั้น