Tag: สารโดพามีน

  • โรคพาร์กินสัน หรือโรคสั่นสันนิบาต

    โรคพาร์กินสัน หรือโรคสั่นสันนิบาต

    โรคพาร์กินสัน หรือโรคสั่นสันนิบาต โรคพาร์กินสัน เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เริ่มเป็นที่รู้จักในวงการแพทย์ตั้งแต่ราวสองร้อยปีก่อน โดยในอดีตมักเข้าใจว่าโรคนี้มีความผิดปกติที่ไขสันหลัง แต่ปัจจุบันนี้ทราบชัดแล้ว่า พยาธิสภาพของโรคพาร์กินสัน เกิดขึ้นที่เนื้อสมองส่วนลึก ในระยะแรก ๆ ของโรคแพทย์จะยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ แต่เมื่อติดตามผู้ป่วยไปสักระยะหนึ่งอาการต่าง ๆ ก็จะปรากฎชัดเจนขึ้น กลไกการเกิดโรคพาร์กินสันนั้น เกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองก็คือ โดพามีน และอะซิทิลโคลีน โดยปกติจะอยู่ในสภาวะสมดุล แต่เมื่อเซลล์สมองที่สร้างโดพามีนตายไปก็จะเสียสมดุล จนทำให้ร่างกายเสียสมดุล เคลื่อนไหวผิดปกติ จนกลายเป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งอาการทางระบบประสาทที่โดดเด่นของพาร์กินสันมีอยู่สามประกอรได้แก่ อาการเกร็ง สั่น และเคลื่อนไหวได้ช้า แนวทางในการรักษาโรคพาร์กินสัน มีหลักก็คือต้องเพิ่มระดับของสารโดพามีนในสมอง ด้วยการให้ยาหรือการกระตุ้นสมองให้สร้างโดปามีนเพิ่มขึ้น เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ของโรคและป้องกันโรคแทรกซ้อน แต่สำหรับผู้ที่ใช้ยาไม่ได้ผลก็จะเป็นการผ่าตัดด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง ซึ่งหลังการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและสามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์, การรักษาด้วยสารกระตุ้นเซลล์ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการวิจัย, การรักษาด้วยยีนบำบัด ก็ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการทดลองวิจัยเช่นกัน การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จำเป็นต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด – ป้องกันมิให้เดินหกล้มด้วยการเลือกสวมรองเท้าที่มีพื้นยาง เก็บกวาดของใช้ในบ้านบนพื้นอย่างให้เกะกะ ติดตั้งราวจับไว้ในห้องน้ำ ทางเดินและบันได – ช่วยให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายบริหารร่างกายตามสมควรและสม่ำเสมอ จะทำให้ผู้ป่วยไม่มีอาการซึมเศร้าด้วย – ผู้ป่วยพาร์กินสันอาจท้องผูกได้ง่าย เพราะการบีบตัวของลำไส้จะผิดปกติ แม้ในอดีตโรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวไม่ได้…

  • ความสุขสร้างง่าย สร้างได้ด้วยตนเอง

    ความสุขสร้างง่าย สร้างได้ด้วยตนเอง

    ความสุขสร้างง่าย สร้างได้ด้วยตนเอง ความสุขนั้นเกี่ยวพันกับฮอร์โมนหรือสารเคมีในสมองอยู่สามชนิด ได้แก่ โดพามีน หลั่งออกมาเมื่อเราได้รับสิ่งที่สมปรารถนา ซีโรโทนิน จะหลั่งออกมาเมื่อมีความรู้สึกสงบผ่อนคลาย ส่วนเอนโดรฟีน เป็นสารแห่งความสุข ช่วยคลายความเจ็บปวด เพื่อภูมิต้านทาน เพิ่มความสามารถในการคิด เพิ่มความจำได้ดีขึ้น ถือเป็นยาชั้นเยี่ยมที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาได้เอง เวลาที่คนเรามีความสุข จะมีความคิดสร้างสรรค์ดี ๆ เกิดขึ้น สามารถแก้ปัญหาและรับมือกับเรื่องราวต่าง ๆ ได้ แม้แต่คนรอบข้างก็รู้สึกมีความสุขตามไปด้วย ตรงกันข้ามกับจิตใจที่เป็นทุกข์ที่จะทำให้เกิดความรู้สึกในแง่ลบ แม้แต่โรคภัยก็คุกคาม เราสามารถเพิ่มฮอร์โมนแห่งความสุขสามชนิดข้างต้นได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ค่ะ 1. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดินให้บ่อยขึ้น มีเวลาสำหรับการออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมง ช่วยให้สดชื่นกระฉับกระเฉง จิตใจมั่นคงสดใสขึ้น 2. ทำกิจกรมกลางแดดอ่อน ๆ ตอนเช้าหรือตอนเย็น อย่างน้อย 15-20 นาที แสงแดดอ่อนจะทำให้ร่างกายหลั่งสารเมลาโทนินออกมา ช่วยให้หลับหลับได้ดีในเวลากลางคืน 3. ทานอาหารที่หลากหลายและครบถ้วนทั้งห้าหมู่ให้มีความสมดุลและเหมาะสมกับสุขภาพ จะช่วยให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนแห่งความสุขดังกล่าวออกมา 4. การนวดช่วยเพิ่มการหลั่งสารซีโรโทนินได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28 และลดฮอร์โมนคอร์ติซอนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างความเครียดได้ถึงร้อยละ 31 5. ฝึกลมปราณด้วยการหายใจเข้าออกลึก ๆ ยาว ๆ ช้า…

  • ผู้สูงวัยกับโรคพาร์กินสัน

    ผู้สูงวัยกับโรคพาร์กินสัน

    ผู้สูงวัยกับโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ ทำให้มีการเคลื่อนไหวได้น้อยลง ช้าลงและร่างกายสั่นเกร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะท้าย ๆ ก็จะมีอาการสมองเสื่อมร่วมด้วยได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญของโรคนี้ เกิดจากการลดลงของสารโดพามีนในสมอง เพราะสมองส่วนที่ทำหน้าที่สร้างสารนี้ทำงานน้อยลง สามารถเกิดขึ้นได้เอง และพบได้บ่อยที่สุด อีกทั้งยังมีสาเหตุอื่น ๆเช่น ความผิดปกติในสมองจากหลอดเลือดอุดตัน การกินยาบางชนิด การมีหลอดเลือดสมองแตก ฯลฯ และในอนาคตนั้นสังคมไทยจะเป็นสังคมของผู้สูงวัยมากขึ้น เพราะหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้หญิงไม่แต่งงานมีมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือการมีลูกน้อยลง ผู้สูงวัยจึงจำเป็นต้องพึ่งตนเองให้มากขึ้นด้วยยึดหลัก 3 อ. ได้แก่ 1. อารมณ์และสุขภาพจิต หมั่นออกำลังกายเป็นนิจ เพื่อช่วยให้สุขภาพจิตดี ร่างกายแข็งแรง ทำให้ทรงตัวได้ดี และนอนหลับได้ง่ายขึ้น ป้องกันความเสื่อมของร่างกายในส่วนต่าง ๆ การออกกำลังกายนี้สามารถเลือกได้ตามชอบ ทั้งการเล่นกีฬาและการใช้แรงงานทำงานในชีวิตประจำวัน ควรหมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอวันละอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง 2. อากาศและสภาพแวดล้อม อยู่ในที่ที่มีอากาศดี สะอาดปลอดโปร่ง มีลมพัดสบาย หายในได้สะดวก ทำให้ร่างกายและสมองได้รับออกซิเจนได้เต็มที่ ผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ในเมืองควรหาโอกาสไปพักผ่อนต่างจังหวัดตามชนบทหรือชายทะเลบ้าง 3. งานอดิเรก สร้างความเพลิดเพลิน ทำให้ไม่เหงา ไม่ว่าจะเป็นงานที่สร้างรายได้หรือไม่ก็ได้ อาจเป็นการเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสังคมก็ได้ ลูกหลานและคนในครอบครัวก็ตาม หากมีเวลาว่างในวันหยุดก็ควรพาผู้สูงอายุในบ้านไปท่องเที่ยวพักผ่อน ผู้ที่อยู่ห่างไกลกัน…

  • นักวิจัยอเมริกัน ค้นพบยา ที่ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพาร์คินสัน

    นักวิจัยอเมริกัน ค้นพบยา ที่ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพาร์คินสัน

    นักวิจัยอเมริกัน ค้นพบยา ที่ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพาร์คินสัน ทีมนักวิจัยอเมริกันค้นพบยาที่อาจจะสามารถช่วยชงักการกำเริบของโรคสมองเสื่อมพาร์คินสันส์ได้และวางแผนจะใช้ยาตัวนี้ทดลองรักษาในกลุ่มผู้ป่วยเสียก่อนเพื่อยืนยันคุณสมบัติของยา โรคพาร์คินสันสเกิดขึ้นจากเซลล์ที่สร้างสารโดพามีน (dopamine) ตายลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ สารโดพามีนเป็นสารเคมีในสมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ บรรดานักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพันธุกรรมน่าจะมีส่วนของการเกิดโรคพาร์คินสันส์ในผู้ป่วยบางราย ผลการศึกษาขององค์การสหประชาชาติชิ้นใหม่ชี้ว่าสารเคมีชนิดต่างๆที่ใช้กันในชีวิตประจำวันอาจเป็นต้นเหตุของโรค ทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัย Northwestern University ค้นพบยาที่สามารถควบคุมไม่ให้เซลล์ในสมองรับสารเเคลเซี่ยมเข้าไปในตัวเซลล์มากเกินไป ยานี้ไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายแก่ร่างกายผู้ป่วย ทีมงานกำลังวางแผนจะทดลองการรักษาผู้ป่วยด้วยยาตัวนี้ และต้องการค้นพบว่ายาตัวนี้จะมีผลช่วยชะลอการกำเริบของโรคพาร์คินสันส์ได้หรือไม่ ยาที่ใช้บำบัดผู้ป่วยโรคพาร์คินสันส์ในปัจจุบันช่วยควยคุมอาการสั่นและอาการเดินเหินลำบากได้ผลดีในระยะเวลาประมาณ 5 ถึง 10 ปีเท่านั้น หากนักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการบำบัดวิธีใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการรักษานานกว่ายาปัจจุบันสองถึงสามเท่าตัว ผู้ป่วยโรคพาร์คินสันส์คนอื่นๆอีกสิบล้านทั่วโลกให้สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ