มาตรการ 7 ป. เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

มาตรการ 7 ป. เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็สามารถเป็นโรคไข้เลือดออกได้ทั้งนั้น ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีฝน ตกๆ หยุด ๆ อย่างต่อเนื่องนี่ ทำให้เกิดน้ำขังทั่วไปทั้งบริเวณบ้านและตามที่สาธารณะต่าง ๆ ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกจึงแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว หากบริเวณบ้านหรือในชุมชนเราป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้ว ก็ยากจะบอกได้ว่าใครจะเป็นรายต่อไป อาจเป็นญาติพี่น้องหรือตัวเองด้วยก็ได้

หากในระยะที่ฝนตกชุกนี้เราเกิดเป็นไข้ขึ้นมา หากต้องการใช้ยาลดไข้ก็ควรใช้แต่พาตาเซตามอลเท่านั้น หากเป็นยาแอสไพรินอาจทำให้เลือดออกในร่างกายมากขึ้นจนเกิดอาการช็อกได้ แต่ยาพาราเซตตามอลก็ควรใช้แต่พอดี หากไข้ยังไม่ลดก็ควรใช้การเช็ดตัวเข้ามาช่วยหากยังไม่ถึงเวลาทานยา ควรดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำหวาน น้ำเกลือแร่ให้มากเพื่อให้ร่างกายสดชื่นขึ้น ให้ผ็ป่วยได้นอนพักผ่อนมาก ๆ แต่หากมีอาการไข้เกินสองวัน กินอาหารหรือดื่มน้ำได้น้อย อ่อนเพลีย ซึม อาเจียน ปวดท้อง ตัวเย็นผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาไข้เลือดออกค่ะ

และการป้องกันยุงลายนั้นควรได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ส่วนในชุมชนไปพร้อม ๆ กันจึงจะสามารถป้องกันการระบาดของโรคนี้ได้อย่างดี ซึ่งก็คือมาตรการ 7 ป. ดังต่อไปนี้

1. ปิดฝาภาชนะทุกชนิดที่เก็บกักน้ำได้ ป้องกันการวางไข่ของยุงลาย

2. ปล่อยปลากินลูกน้ำเช่น ปลาหางนกยูง เพื่อตัดวงจรยุงลาย

3. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้านและนอกบ้าน ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้

4. ปรับสภาพน้ำด้วยการใช้ทราย น้ำส้มสายชู เกลือแกง เทใส่น้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย

5. เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ หรือน้ำรองขาตู้ ทุก ๆ เจ็ดวัน

6. ป้องกันยุงกัด ด้วยการใช้สมุนไพร ต่าง ๆ เช่น ตะไคร้หอม เปลือกส้มแห้ง

7. ควรปฏิบัติตามทั้งหกข้ออย่างเคร่งครัดด้วยค่ะ