Tags : ไข้เลือดออก

เมื่อ…เด็กเล็กเป็นไข้

โพสเมื่อ : 10 July 2014 | No Comments

เมื่อ…เด็กเล็กเป็นไข้  อาการไข้ขึ้นของเด็กเล็กนี่ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองหลายคนวิตกกังวลได้เหมือนกันค่ะว่าลูป่วยเป็นโรคอะไรกันแน่ วันนี้มาฟังคำอธิบายแบบง่าย ๆ กันนะคะ – ไข้หวัดนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยติดต่อกันทางน้ำมูก น้ำลาย การไอหรือจาม ยิ่งหากเด็ก ๆ อยู่รวมกันเป็นจำนวนมากและอากาศถ่ายเทไม่สะดวกแล้วก็มีโอกาสติดหวัดกันได้ง่าย ไข้หวัดทั่วไปจะมีอาการไม่รุนแรงและหายได้เอง หากเป็นเด็กที่แข็งแรงอยู่แล้ว ก็สามารถดูแลเบื้องต้นได้เอง แต่หากเป็นเด็กเล็กมาก หรือมีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นหอบหืด โรคหัวใจ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรมาพบแพทย์ – ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ มีความแตกต่างจากไข้หวัดก็คือ มีไข้ต่ำ ๆ มีอาการไอ

ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป.

โพสเมื่อ : 13 June 2014 | No Comments

ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป. เพื่อสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้วงจรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออก มีระยะที่สั้นลง นั้นจึงทำให้แพร่พันธุ์ได้เร็วมากขึ้น โอกาสในการแพร่เชื้อของยุงก็มากขึ้นไปด้วย จะเห็นได้ว่าเมื่อไรที่ประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝน ไข้เลือดออกก็ระบาดอย่างหนัก หากผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 5-14 ปีแล้วล่ะก็ มีความเสี่ยงมากที่จะเสียชีวิต จะเห็นได้ว่าปีหลัง ๆ ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นแสนคน และเสียชีวิตกันเป็นหลักพัน และขยายความเสี่ยงออกมาสู่เด็กโตและวัยผู้ใหญ่ก็ป่วยด้วยไข้เลือดออกกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดการกับต้นกำเนิดของยุงลายพาหะของโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในชุมชน ให้ลงมือช่วยกันอย่างเอาจริงเอาจังและมีความต่อเนื่อง จึงจะสามารถควบคุมการระบาดได้ โดยอาศัยมาตรการ 4 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิด คือการใช้ฝาไปปิดภาชนะเก็บน้ำต่าง

วิธีป้องกันยุงลายแพร่พันธุ์ ตัดวงจรการระบาดของไข้เลือดออก

โพสเมื่อ : 12 June 2014 | No Comments

วิธีป้องกันยุงลายแพร่พันธุ์  ตัดวงจรการระบาดของไข้เลือดออก การป้องกัน โรคไข้เลือดออก ที่ได้ผลที่สุดนั้นก็คือการป้องกันการแพร่พันธุ์ของยุงลาย แต่ที่ผ่านมายังควบคุมได้ไม่ดีเท่าไรนัก เน้นจากไปเน้นการทำลายยุงลายซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองมาก การควบคุมยุงลายที่ได้ผลต้องทำเป็นวงกว้าง และเน้นที่การควบคุมลูกน้ำเป็นหลัก ควรทำร่วมกันเป็นชุมชนหรือองค์กรด้วย เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการควบคุมการแพร่พันธุ์ของยุงลาย ดังต่อไปนี้ค่ะ – ตรวจสอบ บ่อน้ำ แทงค์เก็บน้ำ กะละมังหรือภาชนะบรรจุน้ำต่าง ๆ ที่จะเป็นแหล่งที่ยุงมาไข่และเกิดลูกน้ำได้ แหล่งน้ำเหล่านี้ต้องมีฝาปิดและตรวจสอบเสมอ ๆ ว่ามีลูกน้ำหรือไม่ – ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำ หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับน้ำด้วยว่ารั่วหรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าฝน – เปลี่ยนน้ำแจกัน ถ้วยรองขาตู้ ซึ่งควรเปลี่ยนทุกอาทิตย์

ไล่ยุงอย่างไร ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเรา

โพสเมื่อ : 11 June 2014 | No Comments

ไล่ยุงอย่างไร ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเรา ประเทศไทยเป็นประเทศร้อนชื้น จึงมียุงชุมแทบทุกฤดูกาล การกำจัดยุงให้หมดนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะร่างกายคนเรานั้นเป็นแหล่งดูดยุงชั้นเยี่ยม จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจาก เหงื่อ กลิ่นตัว และความร้อน ตลอดจนลมหายใจ ยุงจึงมักตอมคนและสัตว์เลี้ยง อีกทั้งสารเคมีในร่างกายของบางคนยังดึงดูดยุงมากกว่าคนอื่นด้วยก็มี วันนี้เราจึงขอนำสูตรการไล่ยุงหลาย ๆ เพื่อให้ทุกคนลองนำไปเลือกใช้ เพราะวิธีการไล่ยุงวิธีหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ผลกับทุกคนก็เป็นได้ แต่ทุกสูตรที่นำมาเสนอในวันนี้รับรองได้ว่าปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายจากสารพิษอย่างแน่นอนค่ะ – หากไปแค้มปิ้งหรือปิกนิกนอกบ้านที่มียุงมาก ให้นำกระเทียมผลซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมาละลายน้ำ แล้วทาลงบนจุดชีพจรหรือบนใบหน้า แต่ให้ระวังเข้าตา – สำหรับผู้ที่อยู่ในบ้านแต่มียุงมาก ให้ลองนำกระเทียมผงละลายน้ำ ฉีดตามสนามหญ้าและพุ่มไม้ต่าง ๆ เพื่อช่วยไล่ยุง

หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก

โพสเมื่อ : 11 June 2014 | No Comments

หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก. ฤดูฝนที่กำลังมาเยือนนี้ มีโรคระบาดที่น่าเป็นห่วงมากสำหรับเด็ก ๆ ก็คือ โรคไข้เลือดออกนั่นเอง เป็นโรคที่มักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุกจนเกิดน้ำขังตามภาชนะและสิ่งของต่าง ๆ ที่รองน้ำเก็บไว้โดยไม่เกิดการหมุนเวียนถ่ายเท ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้จึงแพร่พันธุ์เกิดขึ้นได้มากมาย โดยเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออกนี้ชื่อว่า “ไวรัสเดงกี่” ที่จะอยู่ในตัวยุงลายที่ไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก แล้วไปกัดคนอื่น ๆ แพร่เชื้อต่อไปเรื่อย ๆ เพราะยุงตัวเมียที่พกพาไวรัสไปด้วยนี้จะมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 4-6 อาทิตย์ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่นี้ไปแล้วจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2-7 วัน ผู้ป่วยจึงมักมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน หน้าแดง ตัวแดง ปวดศีรษะ

โรคไข้เลือดออก อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว

โพสเมื่อ : 7 April 2014 | No Comments

ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา ในประเทศชายฝั่งทวีปแอฟริกาตะวันตกยังพุ่งไม่หยุด เพิ่มเป็น 86 รายแล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสไข้เลือดออกอีโบลา ในทวีปแอฟริกาทางตะวันตกเมื่อ 5 เม.ย.ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นเป็น 86 รายแล้ว จากจำนวนผู้ป่วยที่ต้องสงสัยติดเชื้ออีโบลาทั้งหมด 137 ราย ที่น่าวิตกคือ การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก นับตั้งแต่พบการระบาดในภูมิภาคนี้ครั้งแรกที่เมืองกูเกดัว ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกินี ใกล้ชายแดนติดกับประเทศเซียร์รา ลีโอน และไลบีเรีย ตามรายงานของ WHO

แพทย์เตือน ไวรัส อีโบลา กลับมาระบาดหนักอีกรอบ

โฆษกสภา กทม. เผย ปัจจุบันผู้ใหญ่เป็นไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น

โพสเมื่อ : 2 April 2014 | No Comments

โฆษกสภา กทม. เผย ปัจจุบันผู้ใหญ่เป็นไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น กทม. ชี้ ผู้ใหญ่ป่วยเป็นไข้เลือดออกมากขึ้น ปัจจุบันไม่ใช่แค่เด็กเล็กที่สามารถติดไข้เลือกออกได้ง่ายเพียงอย่างเดียว เพราะปัจจุบันยุงลายเพิ่มขึ้นหนัก จากบ้านที่มีน้ำขัง หรือตามแหล่งน้ำภายในชุมชน ที่ไม่ได้มีการกำจัดแหล่งกำเนิดของยุงลายอย่างจริงจัง กทม. จึงออกโรงเตือนประชาชนให้ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามบ้านหรือแหล่งน้ำต่างๆภายในบ้าน พลังจากพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว 1 ราย เผย สถิติพบผู้ป่วยมีอายุเพิ่มขึ้นจนน่าเป็นห่วง จากเมื่อก่อนคิดว่าเด็กเท่านั้นที่เสี่ยงป่วยโรคนี้ ระบุลูกน้ำยุงลายไม่ได้อาศัยตามแหล่งน้ำนอกบ้านอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่อยู่ข้างในบ้านกับคนตลอดเวลา กทม. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับแจ้งว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกแล้วจำนวน 1 ราย ในพื้นที่ห้วยขวาง ทราบชื่อ นางสาวนลิตา

นักวิจัยอเมริกัน เร่งพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสแบบครอบจักรวาล

โพสเมื่อ : 9 January 2014 | No Comments

นักวิจัยอเมริกัน เร่งพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสแบบครอบจักรวาล เชื้อไวรัสมีลักษณะประหลาดอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะตายไปแล้ว เชื้อไวรัสมีโครงสร้างทั่วไปทางพันธุกรรมที่ช่วยให้มันก่อให้เกิดโรคได้ แต่เชื้อไวรัสไม่มีความสามารถแพร่พันธุ์ได้ในตัว เหมือนกับเชื้อเเบคทีเรีย ที่แตกตัวเพิ่มจำนวนขึ้นจากดีเอ็นเอของตัวมันเองหลังจากเข้าไปในร่างกายของคน นักวิจัยอเมริกันค้นพบสารเคมีกลุ่มหนึ่งที่หยุดยั้งเชื้อไวรัสที่เข้าไปในเซลล์ของผู้ติดเชื้อไม่ให้แตกตัวเพิ่มรวมทั้งเชื้อไวรัสมาร์บวก (Marburg) เชื้อไวรัสอีโบล่า (Ebola) ที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกชนิดหนึ่งและเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดและคางทูม แต่นักวิจัยพบว่าสารเคมีที่ค้นพบไม่สามารถสกัดกั้นการแพร่ตัวของเชื้อไวรัสได้ทุกชนิดและใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์เนื่องจากเชื้อไวรัสเอดส์เข้าไปในตัวเซลล์และแทรกแซงการทำงานของเซลล์แตกต่างไปจากเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ นักวิจัยหวังว่าผลการศึกษานี้อาจจะนำไปสู่การพัฒนายาต้านไวรัสแบบครอบจักรวาลเพื่อบำบัดการติดเชื้อไวรัสที่ยังรักษาไม่ได้ในปัจจุบัน คล้ายๆกับยาปฏิชีวนะที่ใช้บำบัดการติดเชื้อเเบคทีเรีย ทีมงานต้องการค้นหาตัวยาที่มีประสิทธิภาพในการสกัดกั้นระบบการแตกตัวของเชื้อไวรัสในเซลล์ร่างกายผู้ติดเชื้อเพื่อไม่ให้เกิดโรค หากทำได้ ก็จะเป็นหนทางนำไปสู่การพัฒนายาตัวใหม่ขึ้นมาบำบัดการติดเชื้อไวรัสเหล่านี้ได้ในอนาคต

หน้า 2 ทั้งหมด 2 หน้า12